วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

TRIZ 40 หลักการสร้างนวัตกรรม

ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการแก้ปัญหาสามารถเป็นสิ่งที่สอนกันได้
เมื่อวันที่ 12-13 มี.ค. 52 ได้ไปอบรมเกี่ยวกับ การพัฒนาข้อเสนอเต็มรูปโครงงาน IRVE-52 การสืบค้นสิทธิบัตร วิศวกรรมย้อนรอยและการแก้ปัญหาสิ่งประดิษฐ์ด้วยหลักการของTRIZ" มีหัวข้ออบรมที่น่าสนใจเช่น
·         แนวทางการทำโครงงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
·         การสืบค้นสิทธิบัตร(ผศ.ปราโมทย์ ธรรมรัตน์ เจ้าของเว็บไซต์ต่อยอดดอทคอม www.toryod.com)
·         วิศวกรรมย้อนรอยและการแก้ปัญหาสิ่งประดิษฐ์ด้วยหลักการของTRIZ
TRIZเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเหมาะสำหรับนำมาสอนนักศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อให้รู้จักการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆตามแนวทฤษฎีTRIZ เพราะการเรียนด้านอาชีวศึกษานักศึกษานอกจากจะสร้างความรู้(Construct)แล้วยังไม่พอนะครับ ต้องนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาโดยการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ แล้วจะสร้างสิ่งประดิษฐ์อย่างไร สร้างไปตามมีตามเกิดหรือปล่าว หรือว่าสักแต่ว่าสร้างให้เสร็จๆไป สร้างตามแนวคิด หลักการหรือทฤษฎี อะไรที่ผ่านๆมาตอบไม่ได้ แต่ต่อไปนี้นักศึกษาต้องตอบได้ TRIZจะช่วยนักศึกษาแก้ปัญหาตรงนี้ได้ แล้ว TRIZ คืออะไร?
TRIZ (Theory of Inventive Problem Solving) :ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น
ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการแก้ปัญหาสามารถศึกษาเรียนรู้กันได้
นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ชื่อ Genrich Altshullerมีความเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เพื่อการแก้ปัญหานั้นเป็นสิ่งที่สามารถศึกษาเรียนรู้กันได้ เขาได้ศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์สิทธิบัตรต่าง ๆ กว่า 2 ล้านฉบับ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 พัฒนาขึ้นมาเป็นเครื่องมือและฐานความรู้ต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาทางเทคนิค เรียกเป็นชื่อย่อ ในภาษารัสเซียว่า TRIZซึ่งแปลว่าทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (Theory of Inventive Problem Solving) มีบริษัทต่าง ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชียได้นำTRIZเข้าไปใช้ในการแก้ปัญหาทางเทคนิคจนสามารถทำกำไรให้กับบริษัทมหาศาล
จะนำ TRIZไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
TRIZ เป็นทฤษฎีที่พูดถึงกระบวนการการแก้ปัญหา เครื่องมือต่าง ๆ และฐานความรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเพื่อค้นหาคำตอบในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในการปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
TRIZ (Theory of Inventive Problem Solving) หรือทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม
เป็นทฤษฎีจัดการทางด้านความคิดที่กำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบัน คิดค้นขึ้นโดย Genrich S. Altshullerวิศวกรชาวรัสเซีย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี 1946)แต่เพิ่งจะเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกา และยุโรป เมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้เอง เป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งนำไปสู่ความรุ่งเรืองทางด้านวิศวกรรมของสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็นที่ไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อน เป็นเวลากว่า 50 ปี และยังคงสามารถนำมาใช้ได้เป็นอย่างดีในการคิดค้นประดิษฐกรรมใหม่ ๆ ของวันนี้

อัลท์ชูลเลอร์ได้ทำการศึกษาค้นคว้าสิทธิบัตรต่างๆ มากกว่า ๒ ล้านกว่าฉบับ ทำให้เขาพบว่าสิ่งประดิษฐ์หรือการคิดค้นหลายๆอย่างที่ผ่านมาได้มาจากการใช้รูปแบบความคิดสร้างสรรค์ที่คล้ายกัน ระบบเทคโนโลยีไม่ได้พัฒนาไปอย่างเลื่อนลอย แต่มีรูปแบบ(Pattern)ของการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่คล้ายคลึงกัน สามารถนำไปใช้พยากรณ์ทิศทางการพัฒนาของระบบเทคโนโลยีนั้นๆ หรือ เอาไปใช้วางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ อัลท์ชูลเลอร์ได้พัฒนาเครื่องมือต่างๆในการแก้ปัญหาโดยมีสมมติฐาน2 อย่างต่อไปนี้เป็นพื้นฐาน
·         พัฒนาการของระบบทางเทคนิค (ผลิตภัณฑ์ หรือขบวนการผลิต เป็นต้น)ดำเนินไปอย่างมีกฎเกณฑ์
·         ในการคิดค้นหาทางแก้ปัญหาใดๆนั้นจะต้องมีวิธีการคิดที่เป็นระบบ มีความเป็นเหตุเป็นผล
"..โดยหลักการของ TRIZ แล้ว เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่สอนกันได้โดยการนำวิธีการคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ มาทำให้เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถเห็นถึงทางออกที่เป็นไปได้ และสามารถจัดการกับตัวแปรต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น.."
39ตัวแปรของ Altshuller (The Altshuller's 39 Engineering Parameters)

1.Weight of moving object
2.Weight of binding object 3.Length of moving object
4.Length of binding object
5.Area of moving object
6.Area of binding object
7.Volume of moving object
8.Volume of binding object
9.Speed
10.Force
11.Tension, pressure
12.Shape
13.Stability of object
14.Strength
15.Durability of moving object
16.Durability of binding object 17.Temperature
18.Brightness
19.Energy spent by moving object
20.Energy spent by binding object
21.Power
22.Waste of energy
23.Waste of substance
24.Loss of information
25.Waste of time
26.Amount of substance
27.Reliability
28.Accuracy of measurement
29.Accuracy of manufacturing
30.Harmful factors acting on object
31.Harmful side effects
32.Manufacturability
33.Convenience of use
34.Repairability
35.Adaptability
36.Complexity of device
37.Complexity of control
38.Level of automation
39.Productivity






40 หลักการพื้นฐานของการสร้างประดิษฐกรรม (40 Fundamental inventive principles)

1. Segmentation เช่น เฟอร์นิเจอร์แยกประกอบ รั้วบ้านที่สามารถประกอบเพิ่มความยาวได้ไม่จำกัด

2. Extraction เช่น การไล่นกออกจากสนามบิน ด้วยการเปิดเทปเสียงที่ทำให้นกตกใจ

3. Local Quality เช่น ดินสอที่มียางลบในแท่งเดียวกัน

4. Asymmetry เช่น ให้หน้ายางด้านนอกทนต่อการเสียดสีได้มากกว่าด้านใน

5. Combining เช่น เครื่องขุดที่พ่นไอน้ำออกมาลดฝุ่น และทำให้พื้นนุ่มลงในเวลาเดียวกัน

6. Universality เช่น โซฟาที่แปลงให้เป็นเตียงนอนได้

7. Nesting เช่น เก้าอี้พลาสติกที่สามารถจับซ้อนกันได้เวลาไม่ใช้งาน ดินสอกดที่เก็บไส้สำรองได้

8. Counterweight เช่น ชดเชยน้ำหนักเรือด้วย Hydrofoil

9. Prior counter-action เช่นคอนกรีตเสริมเหล็ก ท่อที่เสริมด้วยท่อโลหะหลาย ๆ ท่อพันรอบเป็นเกลียว

10. Prior action เช่น มีดพกที่ประกอบไปด้วยเครื่องมือหลายอย่าง ชิ้นไหนไม่ใช้ก็เก็บได้

11. Cushion in advance เช่น สินค้าในร้านที่ติดแม่เหล็กส่งสัญญาณกันการขโมย

12. Equipotentiality เช่น ทำถังน้ำมันเครื่องรถแข่งให้สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำมันที่สนามได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องยก

13. Inversion เช่น การทำความสะอาดโดยใช้ vibrationแทนการใช้สารขัดสี

14. Spheroidality เช่น การทำประป๋องน้ำอัดลมให้เป็นทรงกระบอก เพื่อให้เกิดส่วนโค้งที่รับแรงได้ดีกว่า

15. Dynamicity เช่น ไฟฉายที่มีคอที่สามารถดัดได้ตามต้องการ

16. Partial or overdone action เช่น การทาสีภายในถังน้ำมัน โดยใช้วิธีการหมุนถังให้สีทาได้ทั่ว

17. Moving to a new dimension (1D ->2D ->3D) เช่น บ้านประหยัดพลังงานที่ติดกระจกโค้งไว้ทางทิศเหนือของบ้าน เพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์ให้บ้านสว่างได้ทุกจุดทั้งวัน

18. Mechanical vibration เช่น ใช้ vibration ช่วยในการหล่อ ให้โลหะไหลได้ดีขึ้น

19. Periodic action เช่น ไฟฉุกเฉินจะทำให้กระพริบเป็นจังหวะ ทำให้สังเกตได้ง่ายกว่าไฟที่ไม่กระพริบ

20. Continuity of a useful action เช่น การเจาะโดยใช้ใบมีดที่ทำงานได้ทั้งทิศทางไป และกลับ

21. Rushing through เช่น การตัดผนังพลาสติกแบบไม่ให้เกิดการเปลี่ยนรูป โดยใช้ความเร็วสูง

22. Convert harm into benefit เช่น การ Heat treatmentเหล็กด้วยไฟฟ้าความถี่สูง จะทำให้โลหะร้อนเฉพาะผิวหน้าเท่านั้น ดังนั้นนำวิธีนี้มาใช้กับงาน Surface Heat treatment แทน

23. Feedback เช่น pump จะทำงานเฉพาะเมื่อมีระดับน้ำต่ำเกินกำหนด ควบคุมจากแรงดันน้ำในถัง

24. Mediator เช่น ลดการสูญเสียพลังงานจากการผ่านกระแสไฟในโลหะเหลว โดยการใช้ electrodeและตัวกลางที่เป็นโลหะเหลวที่มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า

25. Self-service เช่น ป้องกันการสึกหรอในเครื่อง feeder สารขัดถู โดยการใช้วัสดุที่เป็นสารขัดถูเช่นกันที่ผิวนอก

26. Copying เช่น วัดความสูงของวัตถุ โดยการวัดระยะที่เงาของมันเอง

27. Inexpensive, short-lived object for expensive, durable one เช่น ผ้าอ้อมใช้แล้วทิ้ง

28. Replacement of a mechanical system เช่น การเพิ่มแรงยึดระหว่างโลหะ กับวัสดุเคลือบที่เป็น thermoplasticโดยการสร้างสนามแม่เหล็ก

29. Pneumatic or hydraulic construction เช่น การขนพัสดุที่แตกง่าย โดยการใช้ถุงลมกันกระแทก

30. Flexible membranes or thin film เช่น ป้องกันการเสียน้ำที่ใบพืช โดยการเคลือบสาร polyethyleneซึ่งมีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้ดี

31. Use of porous material เช่น ใช้วัสดุประเภทฟองน้ำดูดซับสารหล่อเย็นไม่ให้ไหลเข้าเครื่องยนต์ ขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน สารหล่อเย็นก็จะระเหย และทำหน้าที่ในการลดอุณหภูมิ

32. Changing the color เช่น ทำให้ผ้าพันแผลโปร่งใส เพื่อสามารถเห็นบาดแผลได้ โดยไม่ต้องแกะ

33. Homogeneity เช่น การใช้วัสดุพื้นผิวของ feederเป็นชนิดเดียวกับวัตถุดิบ ในกรณีของสารกัดกร่อน

34. Rejecting and regenerating parts เช่น กระสวยอวกาศที่ถูกปล่อยทิ้งเป็นส่วน ๆ หลังจากที่ส่วนนั้นใช้งานเสร็จ

35. Transformation of the physical and chemical states of an objectเช่น ในอุปกรณ์ที่เปราะ แตกง่าย น็อตที่ใช้ก็จะต้องทำจากวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ดี

36. Phase transformation เช่น การป้องกันการขยายตัวของท่อที่มีลักษณะเป็นโครง โดยการใช้น้ำที่แช่จนเป็นน้ำแข็ง

37. Thermal expansion เช่น บ้านประหยัดพลังงานที่เปิดปิดหน้าต่าง ตามอุณหภูมิ ด้วยวัสดุโลหะ 2ชนิดที่มีคุณสมบัติการขยายตัวตามความร้อนที่ไม่เท่ากัน

38. Use strong oxidizers เช่น การเติม oxygen เพิ่มให้กับคบเพลิง เพื่อทำให้เกิดความร้อนมากกว่าการใช้อากาศปกติ

39. Inert environment เช่น การใช้แก๊ซเฉื่อยในการดับไฟในwarehouse

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/249170

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาการนิเทศด้วยรูปแบบ 3M เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ธวัชชัย วิหคเหิร (2542 : 89 - 90) ได้ทำการวิจัยเรื่องความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการการนิเทศทางวิชาการของครูในโรงเรียนโครงการปฏิรูปการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา ความต้องการการนิเทศทางวิชาการของครูผู้สอนในโครงการปฏิรูปการศึกษา ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ในระดับปานกลางและได้รับการตอบสนองความต้องการนิเทศทางวิชาการของครูผู้สอนในโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางซึ่งปรากฏผลดังนี้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่าครูผู้สอน มีความต้องการการนิเทศทางวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นทักษะกระบวนการ และการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ด้านสื่อการสอน ต้องการการนิเทศอันดับหนึ่ง คือ การขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในห้องวิทยาศาสตร์ การเลือกนวัตกรรมทางการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผล พบว่า ต้องการนิเทศเรื่อง การจัดกระทาข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา และการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นพวรรณ ญาณะนันท์ (2540 : 94 - 98) ได้ทาการวิจัยเรื่องการศึกษาการดาเนินการนิเทศงานวิชาการในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า ควรดาเนินงานนิเทศงานทั้งในระดับโรงเรียน มีปัญหาการดาเนินการนิเทศงานวิชาการระดับโรงเรียนได้แก่ เอกสารแจ้งนโยบายมีไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดาเนินการนิเทศและขาดบุคลากรที่มีความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงาน ส่วนการดาเนินการนิเทศงานวิชาการระดับหมวดวิชาครูทุกคนในหมวดวิชาร่วมกันสารวจความต้องการจาเป็นเพื่อวางแผนการินเทศและเตรียมการแต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบโครงการ รายงานผลการปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้บริหารโรงเรียนให้ได้ทราบปัญหาการดาเนินการนิเทศงานวิชาการระดับหมวดวิชา
กลิ๊กแมน และคณะ (Glickman and others 1990 : 185-192, อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี2553 : 120-122) กล่าวถึง การนิเทศแบบพัฒนาการ (Developmental Supervision)ว่าเป็นการนิเทศที่คำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ ศักยภาพของมนุษย์ ตลอดจนความแตกต่างกันในด้าน ต่าง ๆ ของมนุษย์โดยเฉพาะมนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่ (Adult) มีความสามารถการคิดเชิงนามธรรม (Abstract Thinking) ความรู้สึกที่ผูกพันต่อภาระหน้าที่(Commitment) ความเชี่ยวชาญ (Expertise) แรงจูงใจและเป้าหมายที่แตกต่างกัน ตามช่วงอายุ ดังนั้น ในการนิเทศการสอน ผู้นิเทศหรือ ผู้ทำหน้าที่นิเทศจะต้องเลือกใช้วิธีการนิเทศที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ครูที่เป็นผู้ใหญ่ได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพและสามารถมีการพัฒนาถึงจุดสูงสุดโดยมุ่งเน้นครูเป็นสำคัญ (Teacher Center) โดยการช่วยเหลือ แนะนำให้ครูสามารถการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงระดับความเชี่ยวชาญหรือความสามารถทางการคิด และแรงจูงใจในการพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อช่วยครูให้สามารถปรับปรุงและพัฒนางาน ในวิชาชีพของตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียนซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศการสอนของ วัชรา เล่าเรียนดี(2550 : 3) ที่กล่าวว่า การนิเทศการสอน เป็นกระบวนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ เพื่อที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษา และการจัดการเรียน การสอนของครู เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิผลในการเรียนของนักเรียน และ ในการพัฒนาครูให้สามารถจัดกิจกรรมและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรจะต้องอาศัยการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กระบวนการสำคัญที่ควบคู่ไปกับการบริหารคือการนิเทศ การสอน โดยต้องเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิภาพ
                ไจลอล์.(Jailall. 1998 : 675-A) ศึกษาความแตกต่างของการนิเทศที่มีรูปแบบแตกต่างกันเพื่อที่จะให้คำแนะนำไปใช้ในการพัฒนารูปแบบของการนิเทศที่มีประสิทธิภาพในสหรับอเมริกาในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสำรวจ การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ความแตกต่างของการนิเทศการสอน ผลการศึกษาพบว่า 78% ของกิจกรรมการนิเทศรูปแบบต่างๆ เริ่มต้นใช้ในโรงเรียนมาตั้งแต่ 1-6 ปีมาแล้ว 96% ของหัวหน้าสถานศึกษาและครูนิเทศเชื่อว่าการนิเทศที่หลากหลายจะช่วยให้ครูพัฒนาตนเองและพัฒนาการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลางถึงดีมาก 79% ของผู้บิหารและครูนิเทศ เชื่อว่า การร่วมมือกันพัฒนาการนิเทศการสอนที่มีความหลากหลายก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูง ครูที่วมกันพัฒนาเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของการนิเทศ และการนิเทศที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันมีการนำไปใช้เพิ่มมากขึ้น
          รุ่งทิวา เสาร์สิงห์ (2554 : 56) ได้ทำการสังเคราะห์เอกสาร ใน แนวคิดการพัฒนารูปแบบพี่เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ และช่วยพัฒนาซึ่งกันและกัน โดยใช้การติดต่อสื่อสารสนบั สนนุ การเรียนร ู้ เป็นนิยามหนึ่งของพี่เลี้ยงจุดประสงค์หลักของกระบวนการพี่เลี้ยงคือ จัดกิจกรรมสนับสนุนพัฒนาศักยภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตสังคมทั้งผู้รับบทบาทผู้เรียน หรือผู้รับการอุปถัมภ์และผู้รับบทบาทพี่เลี้ยง สำหรับพี่เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการกับระบบพี่เลี้ยง โดยดำเนินกิจกรรมผ่านเครื่องมือออนไลน์ โดยไร้ข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา และยังเพิ่มกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพกระบวนการพี่เลี้ยงได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีงานวิจัยด้านพี่เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์บ้างแล้ว แต่วิวัฒนาการเทคโนโลยีเครือข่ายได้พัฒนาไปตลอดเวลา จึงยังมีประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้ดำเนินงาน และควรพัฒนาให้มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น
สามารถ ทิมนาค (2552 : 112-113) ได้ศึกษา รูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย ที่เรียกว่า “AIPDE Model” ประกอบด้วยกระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การประเมินสภาพและสมรรถนะในการทำงาน (Assessing : A)ขั้นที่ 2 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Information : I) ขั้นที่ 3 การวางแผนการนิเทศ (Planning : P)ขั้นที่ 4 การปฏิบัติ การนิเทศ (Doing : D) ประกอบด้วยกระบวนการนิเทศการสอน 3 ขั้นคือ 1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน 2) การสังเกตการสอน 3) การประชุมให้ข้อมูลย้อนกลับหลังการสังเกตการสอน และขั้นที่ 5 การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating : E) ผลจากการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ 6 คน พบว่า รูปแบบการนิเทศการสอนมีคุณภาพ และผลจากการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศการสอนโดยการนำไปใช้ ในโรงเรียน พบว่า ครูผู้ทำหน้าที่นิเทศมีสมรรถภาพการนิเทศการสอนหลังการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน ครูผู้รับการนิเทศมีสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านหลังการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน นักเรียนมีทักษะการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ชารี มณีศรี (2538 : 29) ให้ความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ว่าการนิเทศการศึกษา มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ครูเจริญก้าวหน้าทางวิชาชีพ ปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นมุ่งพัฒนาคนและพัฒนางานสานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2539 : 6) ได้สรุปถึงจุดมุ่งหมาย การนิเทศการศึกษา ไว้ดังนี้ คือ การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการทางานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะทางสังคม
วิจิตร วรุตบางกูร และคนอื่นๆ (2540 : 10) กล่าวว่า ความจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศการศึกษาในระบบการศึกษาเนื่องจากเหตุผล ดังนี้
1. สภาพสังคมเปลี่ยนไปทุกขณะ การศึกษาจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย การนิเทศการศึกษาจะช่วยทาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์การที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
2. ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้นโดยไม่หยุดยั้ง แม้แนวคิดในเรื่องการเรียนการสอนเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา การนิเทศการศึกษาจะช่วยทาให้ครูมีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้การเรียนการสอนพัฒนาขึ้นจาเป็นต้องได้รับการชี้แนะหรือนิเทศการศึกษาจากผู้ชานาญการโดยเฉพาะ จึงจะทาให้แก้ไขปัญหาได้สาเร็จลุล่วง
4. การศึกษาของประเทศไม่อาจรักษามาตรฐานไว้ได้จะต้องมีการควบคุมดูแลด้วย
ความมุ่งหมายของการนิเทศนั้น เป้าหมายหลักอยู่ที่การพัฒนาครูทั้งด้านวิชาชีพ คือ ฝึกให้มีประสบการณ์ตรง เช่น การประชุมอบรมสัมมนา การทดลองหลักสูตรวิธีสอน และประสบการณ์โดยอ้อม เช่น การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ครูมีโอกาสพบปะทางวิชาการ เป็นต้น นอกจากนั้นยังช่วยสร้างครูให้มีลักษณะความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกับผู้อื่นอันจะยังผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนดียิ่งขึ้น กล่าวโดยย่อก็คือ มุ่งพัฒนาคนและพัฒนางาน
ธรรมสันต์ สุวรรณ์โรจน์  (2555 : 8) ได้ทำงานวิจัยการประเมินการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยใช้รูปแบบซิฟฟ์ โดยใช้วิจัยเชิงบรรยายเก็บรวบรมข้อมูลจากอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร 6 คน และจากนักศึกษาผู้เรียน 160 คน พบว่า ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรโดยใช้รูปแบบซิฟฟ์อยู่ในระดับมาก

ที่มาและความสำคัญ การพัฒนาการนิเทศด้วยรูปแบบ 3M เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ที่มาและความสำคัญ
             การเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบันและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนสภาพปัญหาเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลง ทำให้สังคมไทยปฏิเสธไม่ได้ที่จะเข้าสู่ภาวะวิกฤติการณ์ วิกฤตที่คนไทยอาจจะไม่สามารถแยกแยะข่าวสารดีหรือข่าวสารที่ไม่ถูกต้องก่อให้เกิดเหตุร้ายตามมา ทั้งนี้ความรู้และข่าวสารทั่วไปเป็นของหาง่าย ที่สำคัญคือความรู้มีหลายชุด บางชุดถูก บางชุดผิด โลกมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เราต้องตรวจสอบว่าความรู้ชุดไหนที่เหมาะสม สามารถนำมาใช้อย่างเหมาะสมเข้ากับสถานการณ์ของตัวเองได้ ดังนั้นการแก้วิกฤติของชาติในปัจจุบันทุกคนจึงมองไปที่การศึกษา ต้องใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือสร้างคุณภาพของคนภายในชาติให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือสามารถพัฒนาตนได้ใกล้เคียงศักยภาพที่มีอยู่มากที่สุดและมีการพัฒนาแบบพหุปัญญารอบด้าน ซึ่งตามเจตนารมณ์ของพราะราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ได้กล่าวถึงผลต่อการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องนำมาประกอบการวางแผนและกำหนดทิศทางการศึกษาได้แก่การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยเฉพาะแผนปฏิรูปการศึกษาในรอบที่ 2 (พ.ศ. 2552 - 2561) ที่มุ่งเน้นด้านคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อให้คนไทยทั้งประเทศได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยการขยายโอกาสและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและจัดการศึกษา การผลิตและการพัฒนาครู เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ การจัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย การลงทุนด้านการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาใน 5 วิชาหลักโดยใช้เกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นหลักในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2556: ออนไลน์) โดยมาตราที่เป็นหัวใจหลักสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ คือ หมวดที่ 7 ว่าด้วยครู คณาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษา มาตรา 52 ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกำกับและประสานให้สถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการส่งเสริมระบบให้ครูได้ใช้องค์ความรู้ ทักษะกระบวนการและประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทั้งด้านความรู้และจริยธรรม และ หมวดที่ 4 แนวทางที่ว่าด้วยการจัดการศึกษามาตรา 24 ว่าด้วย การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ในหลายประเด็น แต่ประเด็นที่สถานศึกษาต้องดูแลกำกับอย่างใกล้ชิดในชั้นเรียน คือ (5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ (คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ,  2553:7-8) ทั้งนี้การเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยเฉพาะห้องเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เป็นกลุ่มสาระหลัก ซึ่งในการสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551: 94) การเรียนการสอนจะเน้นกระบวนการที่นักเรียนเป็นผู้คิดลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยกิจกรรมหลากหลาย ให้นักเรียนต้องเรียนและกำหนดให้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นพบตนเองมากที่สุด และนักเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน
วิจารณ์ พาณิชย์, (2557) ได้กล่าวปาฐกถา ในเวที ประชุมวิชาการประจำปี สตรี เยาวชน และครอบครัวศึกษา ครั้งที่ 10 "สตรีและเยาวชนศึกษา: ยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งของสังคมไทย" โดยมีใจความสำคัญว่า เยาวชนที่ดีในศตวรรษที่ 21 คือคนที่พัฒนาตนได้ใกล้เคียงศักยภาพที่มีอยู่มากที่สุด มีการพัฒนาพหุปัญญารอบด้าน ขณะนี้ประเทศไทยพัฒนาเฉพาะปัญญา ไม่ได้พัฒนาอารมณ์ จิตใจ โดยธรรมชาติมนุษย์เรามีศักยภาพทั้งด้านดีและด้านชั่ว มีทั้งด้านบวกและด้านลบ การศึกษาต้องหนุนศักยภาพด้านดี และพยายามลดทอนศักยภาพด้านลบ หัวใจสำคัญคือเพื่อให้เด็กเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับอาทิ การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม ทำให้เด็กฝึกทักษะการให้และรับ กระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่ เด็กเป็นผู้สร้างมากกว่าผู้เสพหรือเป็นผู้ที่มาดูดซับความรู้ เด็กจะมีศักยภาพงอกงามสร้างสรรค์เรื่องราวต่างๆ ติดตัวไป โดยสิ่งที่เด็กต้องฝึกให้ได้คือ ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่หมายถึงเด็กเรียนวิชาความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องเลยไปจากความรู้ไปถึง ทักษะใหญ่ๆ มี 3 ชุด และ 1 ในทักษะนี้คือ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งยุคนี้มีข้อมูลมากมาย ทั้งกึ่งจริงกึ่งหลอก ซึ่งการจะทำความเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้อง ทักษะด้านนี้จึงมีส่วนสำคัญที่จะเป็นส่วนสร้างให้คนไทยสามารถเข้าใจกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงของสังคมจนสามารถเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและ ไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย เพื่อให้การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง ยิ่งอัตราการขยายตัวทุก ๆด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็ว ถูกต้องและทำให้เป็นโลกที่ไร้พรมแดน ดังนั้นทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการพัฒนาระบบให้รองรับด้วยเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆเป็นอย่างมาก

ในมุมของต่างชาติ โดย Tom Corcoran,  (2557) ได้กล่าวกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ถึงสถานการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย โดยหยิบยกคะแนน PISA วิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในลำดับที่ 49 จากทั้งหมด 64 ประเทศ โดยคะแนนเฉลี่ยของประเทศไทยอยู่ที่ 425 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานนานาชาติ (OECD) กว่า 100 คะแนน ซึ่งมีการวิเคราะห์กันว่าการที่จะได้ 100 คะแนน ต้องใช้เวลาเรียนถึง 2 ปี ดังนั้นจึงถือว่าการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยล้าหลังกว่ากว่านานาชาติถึง 2 ปี โดยคะแนนเฉลี่ยของไทยในปี 2009 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยในปี 2006 เพียง 4 คะแนนเท่านั้น นอกจากนี้สังคมไทยยังมีหัวกะทิทางวิทยาศาสตร์อยู่น้อย ดังจะเห็นได้จากเด็กไทยที่ทำคะแนนได้ดี (เกรด 5-6) ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายของการเข้าทำงานสายวิทยาศาสตร์มีเพียง 1.3% และ 0.6% ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ตามลำดับ หากเทียบกับค่าเฉลี่ยของนานาชาติ (OECD) มีเด็กกลุ่มนี้จำนวน 10% ขณะที่เซี่ยงไฮ้ ญี่ปุ่น เกาหลี มีเด็กกลุ่มนี้สูงถึง 20% จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีเด็กที่ประสบความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์น้อยมากเมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่ไทยได้ลงทุนไปในระบบการศึกษา ซึ่งมากกว่าประเทศที่ทำคะแนนสูงกว่าไทย ทั้งนี้บทความที่ระบุในการประชุมวิชาการ ได้ระบุสภาพปัญหาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไทย ที่สำคัญคือหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของไทยพยายามใส่เนื้อหาและสาระวิชามากเกินไป จนทำให้เด็กไทยไม่มีโอกาสความเข้าใจเชิงลึกในเนื้อหา เช่น ในประเทศฮ่องกง ซึ่งมีผลการสอบ TIMSS วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในระดับสูง พบว่าเนื้อหาการสอนครอบคลุมหัวข้อการสอบของ TIMSS เพียง 60 % แต่สอนอย่างลงลึก ทำให้เด็กเข้าใจในแก่นแท้ของเนื้อหา ขณะที่อเมริกา ซึ่งมีการสอนอย่างอย่างครอบคลุมเนื้อหา 100% แต่มีผลคะแนนที่ต่ำกว่าฮ่องกง และถ้าพิจารณาจากสภาพชั้นเรียน ส่วนใหญ่ครูไทยจะยืนบอกให้เด็กจดหน้าชั้นเรียน หรือเดินตามสูตรสำเร็จที่หนังสือให้ไว้ ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน ซึ่งการสร้างแรงจูงใจต่อการเรียนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่ใช่เด็กทุกคนที่เดินเข้าห้องเรียนแล้วอยากที่จะเรียน แต่เป็นหน้าที่ของครูทุกคนที่จะสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากที่จะเรียน ทั้งนี้บทความที่ระบุในการประชุมวิชาการ ได้ระบุสภาพปัญหาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไทย โดยเน้นที่การจัดการเรียนรู้ล้วนเกิดจากคุณครูที่ต้องบริหารการจัดการเรียนการสอนด้วยตัวเอง ซึ่งยังไม่มีระบบสนับสนุนและช่วยเหลือที่ตรงกับความต้องการของครูผู้สอน
นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้ของรายวิชาวิทยาศาสตร์ยังพบปัญหาด้านเนื้อหาวิชาไม่เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ครูไม่มีเวลาผลิตสื่อหรือซ่อมแซมอุปกรณ์การสอนอุปกรณ์ที่ใช้มีคุณภาพต่ำ รวมจนถึงสภาพห้องเรียนไม่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการทดลอง ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ ทำให้ผู้เรียนขาดแรงจูงใจในการเรียน ขาดความเชื่อมั่นทำให้การเรียนล่าช้า ผนวกกับบทบาทภาระหน้าที่ของครูวิทยาศาสตร์มีมากต้องทำหน้าที่อื่นนอกจากการสอนประกอบด้วย ยิ่งทำให้ไม่สามารถที่จะปรับสภาพการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้อย่างทันถ่วงที ทั้งนี้ด้วยช่วงเวลาในการเตรียมการสอนของครูถูกลดทอนลง ซึ่งตรงกับรายงานวิจัยของ ศิราภรณ์ เทวะผลิน, (2548) ได้ศึกษาผลของการนิเทศการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า พฤติกรรมครูส่วนใหญ่แล้วจะยึดติดกับการเรียนการสอนแบบเดิมๆ คือเน้นการบรรยายในชั้นเรียนเพราะสามารถจัดการสอนได้โดยง่าย อันมีสาเหตุมาจากความเข้าใจพื้นฐานของครูที่ว่า ครูอาจจะมีหน้าที่สอนหนังสือให้จบเล่ม ครูจึงเน้นเนื้อหาและไม่เข้าใจกระบวนการพัฒนาต่างๆ จึงทำให้ครูมองไม่เห็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียน แต่ถ้าครูมีเพื่อนคู่คิด โดยใช้การนิเทศการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนแล้วนั้นจะทำให้การสอนของครูมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถึงตอนนี้ผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญ ว่าต้องมีวิธีการใดบ้างที่จะสามารถช่วยคุณครูสามารถจัดการชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ข้อค้นพบของการพัฒนารูปแบบการนิเทศ จากงานวิจัยของสุภาภรณกิตติรัชดานนท์ และคณะ, (2551) ในเรื่องการพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีประเด็นหลักของการจัดการนิเทศอยู่ด้วยกัน 7 ด้าน และประเด็นหลักด้านแรกคือ ด้านวัตถุประสงค์ของการนิเทศ มี 1 ประเด็นย่อย คือ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ และร่วมมือกับครูให้สามารถพัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพ และพัฒนาการ เรียนการสอน ที่จะนำไปสู่คุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นประเด็นนี้จึงจุดมุ่งหมายในการพัฒนาการสอนโดยตรง เป็นกระบวนการที่ช่วยกระตุ้น เร่งเร้า ให้ครูมีความตื่นตัวที่จะปรับปรุงการเรียนการสอนให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการนิเทศจากภายนอกหรือการนิเทศภายในสถาบัน  เพราะการนิเทศการสอนมีจุดมุ่งหมาย เพื่อช่วยเหลือครู สามารถช่วยเหลือผู้สอนไปพร้อม ๆกับการทำหน้าที่การสอนในห้องเรียน สามารถพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้โดยตรงกับความต้องการของผู้สอนเอง การนิเทศการสอนจึงช่วยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา กระบวนการเรียนการสอนจะถูกพัฒนาให้ก้าวหน้าและทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้การศึกษาสภาพการนิเทศการสอน ยังพบว่ามีปัญหาอยู่ค่อนข้างมาก เช่น ขาดแคลนอัตรากำลัง ศึกษานิเทศก์ขาดความรู้ ความสามารถ ขาดทักษะและประสบการณ์ในการนิเทศการสอน ขาดเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ขาดการประสานงาน ขาดงบประมาณ ขาดยานพาหนะ มีภาระมากทำให้ไม่มีเวลานิเทศ จนทำให้ขาดการนิเทศอย่างต่อเนื่อง ขาดแรงจูงใจและสนับสนุน ขาดการประเมินผลการปฏิบัติงาน (สายใจ ประยูรสุข2551)
ทั้งนี้บทบาทหน้าที่ของครูจาก พจนา มะกรูดอินทร์, (2552) ในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ครูคือผู้สร้างสถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวนักเรียนเอง เป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า เป็นผู้ถามคำถามต่าง ๆ ที่จะช่วยนำทางให้นักเรียนค้นหาความรู้ต่าง ๆ
 การพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูนั้นอาจทำได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่น่าจะส่งผลโดยตรงทำให้ครูสามารถปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ กระบวนการนิเทศการสอนดังที่ วัชรา เล่าเรียนดี, ( 2550 : 8) กล่าวว่า การนิเทศการสอนเป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดการศึกษาที่มุ่งปรับปรุงกระบวนการสอน กระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน และส่งเสริมพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่องที่ส่งผลโดยตรงต่อผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ในการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน ต้องอาศัยวิธีการ หลากหลายวิธี และวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเหลือครูให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาตนเอง พัฒนางานการจัดการเรียนการสอนในวิชาชีพของตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, (2532 : 6) พบว่า ในสถานการณ์ทางการนิเทศการสอนในระดับต่าง ๆเท่าที่ผ่านมา มักจะเป็นไปในลักษณะของการเพิ่มพูนปัญญาให้แก่ครูผู้สอนมากกว่าจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาด้านการเรียนการสอน เพราะการนิเทศการศึกษามักจะเป็นไปในลักษณะการประเมินการสอน หรือตรวจดูผลการเรียนมากกว่าการช่วยครูพัฒนาทำให้ครูรู้สึกหวาดกลัว ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะครูคิดว่าการนิเทศการสอนเป็นการจับผิด มากกว่าเป็นการช่วยเหลือแก้ปัญหาการเรียนการสอนจากปัญหาการนิเทศที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศการศึกษานั้น จึงต้องมีการปรับปรุงให้เป็นการนิเทศการศึกษาที่เป็นไปอย่างทั่วถึงครอบคลุมขอบเขตการปฏิบัติงานครบถ้วนทุกสถานศึกษา มีการนิเทศการศึกษาที่ตรงตามปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของครูและสถานศึกษา มีความต่อเนื่องในการดำเนินการนิเทศเพื่อแก้ปัญหาของสถานศึกษา การที่จะดำเนินการดังกล่าวได้นั้นระบบที่จะสนับสนุนครูผู้สอนได้เป็นอย่างดี โดยที่ครูไม่ได้รับความกดดันแต่อย่างใด ซึ่ง สถาบันคีนันแห่งเอเซีย ผู้บริหารโครงการพัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์จังหวัดพังงา, (2554) หรือ MSD IN-STEP ได้ให้ความหมายผู้สนับสนุนและช่วยเหลือการสอน ไว้ว่า เป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ (Mentoring) ซึ่งหมายถึง การมีครูพี่เลี้ยง เข้ามาทำงานร่วมกันกับครูผู้สอนอย่างกัลยาณมิตร เพื่อช่วยให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น  มีงานวิจัยชี้ชัดว่าการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการช่วยปรับปรุงคุณภาพการสอนของเพื่อนครูและช่วยลดการลาออกจากอาชีพครูได้ด้วย แม้ว่าส่วนใหญ่จะนำมาใช้กับครูใหม่ แต่การเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการจะช่วยให้เพื่อนครูใช้หลักสูตรใหม่ได้อย่างมีประสิทธิผล ช่วยให้ครูมีความเข้าใจในเนื้อหาความรู้ที่ลึกซึ้ง และสร้างสังคมเชิงปฏิบัติในทางวิทยาศาสตร์ที่ยั่งยืน แต่สภาพการนิเทศปัจจุบันนี้ ด้วยการมีทรัพยากรบุคคลที่จำกัด ผนวกกับการเดินทางที่เข้าถึงโรงเรียนได้อย่างจำกัด ทำให้การนิเทศการสอนอันเพื่อที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนการสอนของครูนั้นยังทำได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นการนิเทศในปัจจุบันจึงทำได้เพียงแต่ประเมินคุณภาพการสอนครูเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งทำให้การนิเทศยังไม่เกิดประสิทธิผลเพียงพอที่จะไปมีบทบาทในการเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนครูให้มีคุณภาพขึ้น
ที่กล่าวมาจากข้างต้นการสร้างกระบวนการนิเทศเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการสอนครู ผ่านสื่อสังคมออนไลน์หรือระบบสื่ออิเล็คทรอนิกส์ จึงเป็นกระบวนการที่สามารถเข้าถึงกิจกรรมการสอนครูได้อย่างต่อเนื่องและตอบสนองต่อความต้องการของครูผู้สอนได้อย่างทันท่วงทีเท่าที่ครูเกิดปัญหาหรือมีความต้องการที่ปรึกษาในการเตรียมการสอนหรือการสอนในขณะใดขณะหนึ่งโดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นช่วงชั้นของการเรียนวิทยาศาสตร์อันเพื่อให้นักเรียนเริ่มทำความเข้าใจในเนื้อหาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ดังนั้นการพัฒนาการนิเทศด้วยรูปแบบ 3M ที่ประกอบด้วย Mentor คือ ครูพี่เลี้ยงทางวิชาการ Mentee คือครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ และ Manager คือองค์กรที่ดูแลการนิเทศ โดยการนิเทศจะผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งถูกออกแบบและพัฒนาโดยสถาบันคีนันแห่งเอเซีย ทั้งนี้เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ จะสามารถช่วยเหลือและสนับสนุนครูผู้สอนได้อย่างมีประสิทธิผล โดยกระบวนการเป็นการวิจัยประเมินผลและพัฒนาให้เกิดรูปแบบที่ครูสามารถนำไปเป็นเทคโนโลยีในการพัฒนาการสอนของตัวเอง ซึ่งต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอน พี่เลี้ยงวิชาการ และทีมบริหารจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ใกล้ชิดในการเตรียมแผนการสอน ดูแลกิจกรรมการสอน จนกระทั่งให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับครูผู้สอนได้อย่างต่อเนื่องหลังจากที่ครูทำการสอนเสร็จเป็นที่เรียบร้อย หรือตามความต้องการของครูผู้สอนได้ อันเพื่อจะให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้ในแต่ละครั้งให้เกิดประโยชน์สำหรับผู้เรียนในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ต่อไป

คุณภาพเยาวชนไทยในยุคอาเซียนและศตวรรษที่ 21

วันนี้ผมมงคล สาระคำ จะมาพูดปาฐกถา หัวข้อ “คุณภาพเยาวชนในศตวรรษที่ 21” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ 
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้พยายามสื่อสารให้สังคมไทยได้ตื่นตัวในการก้าวเข้าสู่ความเป็นอยู่ในศตวรรษที่ 21 รวมกับสังคมประชาคมอาเซียน ซึ่งถือได้ว่าเป็นความท้าทายเอามากๆที่จะมองถึงความเข้าใจของความเป็นอยู่ของลูกหลานของเราเพราะในอนาคตจะหลีกเลี่ยง 2 สังคมนี้ไม่ได้แน่นอน
 วันนี้เราจะมาพูดกันใน 3 หัวข้อ คือ
o ทำไมเด็กไทยศตวรรษที่ 21 ถึงเป็นเรื่องพิเศษ ถึงเป็นเรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจ
o คุณภาพของเยาวชนในยุคนั้นเป็นอย่างไร
o หัวใจสำคัญที่เราจะสามารถพาเขาบรรลุคุณภาพดังกล่าวได้อย่างไร
ก่อนอื่นผมจะพาทุกคนเข้าใจในลักษณะในยุคปัจจุบันก่อน ซึ่งยุคนี้เป็นยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็ว และจะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อยๆ เป็นยุคที่พลิกผัน คาดเดายาก คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร เยาวชนที่อายุ 20 ไม่รู้ว่าเมื่อตนอายุ 60 สังคมจะเป็นอย่างไร ขณะที่ความรู้เป็นของหาง่าย ที่สำคัญคือความรู้มีหลายชุด บางชุดถูก บางชุดผิด โลกมีความซับซ้อน เราต้องตรวจสอบว่าความรู้ชุดไหนที่เหมาะสม นำมาใช้กับสถานการณ์นั้นๆ ได้ สมัยก่อนความรู้หายาก คนที่จะเป็นประโยชน์กับเราคือ ครูเท่านั้นที่จะให้ความรู้ ต่างจากสมัยนี้ที่มีแหล่งความรู้มาก เพราะฉะนั้นครูต้องเป็นผู้ที่สอนให้เรารู้ ว่าจะใช้ความรู้อะไร และใช้อย่างไร ครูที่มีคุณค่าสมัยนี้ไม่เหมือนครูที่มีคุณค่าสมัยก่อน เพราะสิ่งต่างๆ เปลี่ยนไป นี่คือหัวใจของศตวรรษที่ 21 คนจะเปลี่ยนแปลงไป
สมัยก่อนเด็กจะถูกหล่อหลอมจากพ่อแม่มาก ชีวิตพ่อแม่เอามาสอนลูกได้ สมัยนี้ไม่ได้แล้ว เด็กจะถูกหล่อหลอมอีกแบบ สมัยนี้พ่อแม่และลูกมี Generation Gap มากขึ้น วิธีคิดไม่เหมือนกัน เพราะนี่คือการเปลี่ยนยุค เปลี่ยนความคิดของคน เด็กสมัยนี้ถูกหล่อหลอมโดยลัทธิวัตถุนิยม อยู่ในภาวะชีวิตที่มีความพร้อม มีวัตถุแวดล้อม ไม่ได้เรียนรู้จากความลำบาก อยากได้อะไรก็ได้ พ่อแม่ปู่ย่าตายายคนในบ้านรุมโอ๋ เอาใจ ต่างจากสมัยก่อนที่ครอบครัวไม่มีความพร้อม
ในสมัยนี้ มีเรื่องดึงดูดความสนใจมากเรื่อง เด็กขาดสมาธิในการเรียน ที่ร้ายแรงคือ เด็กสมัยใหม่ขาดแรงบันดาลใจ เพราะผู้ใหญ่สอนให้เขาเชื่อมาตั้งแต่เด็ก เด็กไม่ได้รับการฝึกให้รู้จักตัวเอง ให้ค่อยๆ รู้ว่าตัวเองอยากทำ อยากเป็นอะไร มีความถนัดหรืออ่อนเรื่องอะไร เด็กไม่รู้ตัว ทำให้ไม่มีแรงบันดาลใจ และเพราะเขาไม่มีแรงกดดัน ทำให้เขาไม่ต้องผลักดันตัวเอง เพราะทุกอย่างมีพร้อมให้หมด หรือในกรณี เด็กในชั้นเรียนมีความแตกต่างกันมาก เช่น เด็กบางคนอยู่ ม.3 มีความรู้ภาษาอังกฤษดีกว่า ม.5 แต่เด็ก ม.3 บางคนเหมือนเด็ก ม.1 เป็นต้น เกิดมีเด็กเก่งและเด็กอ่อนในวิชาหนึ่งๆ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

เราอยากได้เด็ก แบบไหน ในศตวรรษที่ 21 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเองและสังคม
เยาวชนที่ดีในศตวรรษที่ 21 คือคนที่พัฒนาตนได้ใกล้เคียงศักยภาพที่มีอยู่มากที่สุด มีการพัฒนาพหุปัญญารอบด้าน ขณะนี้ประเทศไทยพัฒนาเฉพาะปัญญา ไม่ได้พัฒนาอารมณ์ จิตใจ โดยธรรมชาติมนุษย์เรามีศักยภาพทั้งด้านดีและด้านชั่ว มีทั้งด้านบวกและด้านลบ การศึกษาต้องหนุนศักยภาพด้านดี และพยายามลดทอนศักยภาพด้านลบ หัวใจสำคัญคือเพื่อให้เด็กเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับอาทิ การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม ทำให้เด็กฝึกทักษะการให้และรับ กระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่ เด็กเป็นผู้สร้างมากกว่าผู้เสพหรือเป็นผู้ที่มาดูดซับความรู้ เด็กจะมีศักยภาพงอกงามสร้างสรรค์เรื่องราวต่างๆ ติดตัวไป โดยสิ่งที่เด็กต้องฝึกให้ได้คือ ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่หมายถึงเด็กเรียนวิชาความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องเลยไปจากความรู้ไปถึง ทักษะใหญ่ๆ มี 3 ชุด คือ ทักษะวิชาชีพ ซึ่งบ้านเราเน้นมาก แต่ที่สำคัญกว่าคือ ทักษะชีวิต (life skills) ซึ่งเป็นทักษะที่ทำให้เยาวชนสามารถเอาตัวรอดในสังคมได้ ต่อมาคือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะนี้สอนไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่ต้องฝึก เด็กต้องฝึกเอง ครูมีบทบาท มีทักษะในการตั้งคำถาม และสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนเกิดความอยากทำ  จนเกิดเป็นชิ้นงานสร้างสรรค์ได้ และทักษะสุดท้ายคือทักษะ ICT หรือ ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งยุคนี้มีข้อมูลมากมาย ทั้งกึ่งจริงกึ่งหลอก ต้องมีทักษะที่เท่าทัน
ถ้าถามว่า? การเรียนเพื่อให้เด็กได้ทักษะเหล่านี้ หรือทักษะทั้ง 3 ครบถ้วน การศึกษาต้องเปลี่ยน 4 อย่างต่อไปนี้ คือ
1.ตัวมาตรฐานและการประเมินผล คือมาตรฐานของการศึกษา ได้เรียนครบทุกด้าน ไม่ใช่เรียนแต่ตัวความรู้ การทดสอบปัจจุบันทดสอบเรื่องวิชาได้อย่างเดียว ทดสอบนิสัยและอารมณ์ไม่ได้ แต่ครูทดสอบได้ ประเทศที่การศึกษาดี เขาจะเชื่อครู เขาจะมอบอำนาจให้ครูเป็นผู้ประเมิน แต่บ้านเราจะเป็นคนละอย่าง
2. หลักสูตรและการสอน ต้องเปลี่ยนจากผู้ถ่ายทอดความรู้ไปสู่การให้ลูกศิษย์เป็นผู้ลงมือทำ ครูเปลี่ยนจากสอน มาเป็นผู้ออกแบบกระบวนการ มองตามพื้นความรู้ของเด็ก และเป้าหมายการเรียนรู้ และเอื้ออำนวยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินการ เด็กเกิดทักษะ โดยครูเป็นโค้ชและคุณอำนวยให้เด็กเรียนรู้ ทำและไตร่ตรองใคร่ครวญ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง
3.การพัฒนาครู วิธีพัฒนาครูปัจจุบันผิด 80 เปอร์เซ็นต์ ถูก 20 เปอร์เซ็นต์ คือ จับครูมาฝึกอบรม เข้าเวิร์คช็อป แต่การพัฒนาครู 80 เปอร์เซ็นต์ต้องอยู่ในห้องเรียนของนักเรียน ต้องเรียนจากการทำหน้าที่ครูในห้องเรียน จัดกระบวนการขึ้นมาให้ครูได้ฝึก อีก 20 เปอร์เซ็นต์ เขาขาดตรงไหน ค่อยมาจัดฝึกให้นอกห้องเรียน
4.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต้องเปลี่ยน มนุษย์เราเกิดมามีธรรมชาติต้องการเรียนรู้ ถ้าสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี บรรยากาศเอื้อ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วมาก โดยเฉพาะเด็ก เพราะฉะนั้นบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี คือ มีอิสระ อิสระจากความกลัว กลัวจากการถูกหาว่าโง่ เพี้ยน ผิด โดยวิธีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบนี้ จะว่าง่ายก็ง่ายมาก แต่หากจะว่ายากก็ยากมาก เพราะเกิดจากมิจฉาทิฐิด้านการศึกษา อาทิ หนึ่งคำถามมีเพียงหนึ่งคำตอบ แต่การศึกษาที่ถูกต้องคือ ควรส่งเสริมให้เด็กสามารถตอบคำถามได้มากกว่าหนึ่งคำตอบต่อหนึ่งคำถาม นั่นจะทำให้เด็กมีปัญญา เมื่อครูตั้งคำถามมาแล้วเด็กคนที่หนึ่งตอบ ประโยคต่อมาของครูจึงควรถามว่าใครมีคำตอบที่ต่างจากนี้บ้าง ?” บรรยากาศการเรียนรู้จะเกิดขึ้นทันที
ซึ่งการเรียนรู้ของเราทุกวันนี้ ต้องเป็นไปในแบบ Active Learning โดยเวลาเรียนเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ในพื้นที่ ในชุมชน ในบริบทจริง ที่สำคัญ การเรียนรู้ หากไม่ระวัง จะทำให้หยุดอยู่แค่ขั้นที่ 1 Informative Learning ได้ Information แต่ไม่ได้ทักษะ ซึ่งไม่พอ ต้องเลยไปสู่ Formative Learning มีการปฏิสัมพันธ์กัน มีการปะทะสังสรรค์แล้วเกิดค่านิยมร่วมของกลุ่มวิชาชีพ แต่ก็ยังไม่พอ ต้องเรียนให้ไปสู่ Transformative Learning คือเพื่อให้ได้คุณสมบัติภาวะผู้นำไม่ใช่การไปเป็นหัวหน้าใคร แต่คือการไปเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพราะศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนแปลงเร็ว หากเด็กไม่มีคุณสมบัตินี้ ก็จะเป็นผู้ตาม ไม่ช้าเขาจะถูกเปลี่ยนแปลงและชีวิตจะยากลำบากเพราะตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน เขาต้องสามารถควบคุมและมองภาพการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ จากนั้นเข้าก็จะสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงได้มาดูการเรียนรู้ที่ทำให้รู้จริง                (Mastery Learning) มี 4 ขั้นตอน
1.       ในเรื่องนั้นตัวเองทำไม่ได้ และไม่รู้ตัวว่าทำไม่ได้ ไม่รู้ว่ามีเรื่องนั้นอยู่หรือเปล่า
2.      รู้แล้วว่าเรื่องนั้นมี แต่รู้ว่าตัวเองทำไม่ได้
3.      รู้ว่าตัวเองทำได้ แต่ต้องตั้งสติ ทำบ่อยๆ
4.      ทำได้โดยไม่รู้ตัว คือทำได้โดยอัตโนมัติ คือ การเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery Learning)

เราจะบรรลุอย่างไร
ครูต้องสอนให้น้อย ให้เรียนรู้มาก Teach Less, Learn More ซึ่งเป็นอุดมการณ์การศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ที่ยึดหลักการนี้ทั้งครูและศิษย์ คือ เปลี่ยนห้องสอนเป็นห้องเรียน ห้องเรียนต้องเปลี่ยนเพื่อสร้างทักษะที่จำเป็น คือทักษะ 3 1 ว คือ 1.ทักษะแรงบันดาลใจ 2.ทักษะการเรียนรู้ 3.ทักษะความร่วมมือ และ 1 . คือ การมีวินัยในตนเอง ให้ 4 ตัวนี้เป็นเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเยาวชนภายในตัวเขาเอง
นักเรียนต้องเปลี่ยนจากผู้รับถ่ายทอด เป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในตน  ฝึกนักเรียนตั้งคำถามหลุดโลก หลักๆ ที่ทำกันส่วนใหญ่ คือ 5 Why หรือ 5 ทำไม ทำไม...ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการสร้างสื่อความรู้ เช่น วิดีโอ เพื่อใช้ในห้องเรียนกลับทาง ซึ่งเด็กชั้นมัธยมฯ ก็มีความสามารถเพียงพอช่วยครูได้แล้ว ครูต้องฝึกสร้างแรงบันดาลใจมากกว่าการให้ความรู้ ต้องยั่วยุท้าทาย ชื่นชมในจุดที่ดี แนะให้แก้จุดอ่อน ชวนให้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คอยสังเกตปัญหาและดูผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนตลอดเวลา (Embedded Formative Assessment + Formative Feedback > Summative Evaluation) ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการศึกษา มีปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ คุณภาพครู และ ปฎิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครู
ในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมของสิ่งเหล่านี้คือการทำให้เกิดห้องเรียนกลับทาง (Flip the Classroom) ฝึกให้ผู้เรียนเตรียมเนื้อหาหรือทฤษฎีที่บ้าน แล้วเมื่อเกิดปัญหาอะไรให้นำมาพูดคุยและทำการบ้านที่ห้องเรียน เด็กใช้ความรู้ เรียนแล้วรู้จริง
สรุป
o ต้องมองเยาวชนต่างจากเดิม เยาวชนไม่ใช่ผู้มารับถ่ายทอดความรู้
o เป็นพลังของการสร้างสรรค์ ทั้งตอนเรียน และตอนดำรงชีวิตเป็นพลเมือง
o ฝึกความเป็นตัวของตัวเอง ร่วมมือ และเคารพผู้อื่น
o ฝึกยกระดับรอบด้าน ของความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่เฉพาะวิชาเรียน ปฏิบัติ เฉพาะในห้องเรียน

o ทั้งหมดนั้นทำโดยการลงมือ และคิดทบทวนไตร่ตรอง (Deep Reflection) 

สอนแบบกั๊ก ดีกว่า สอนแบบไม่กั๊ก

สอนแบบกั๊ก ดีกว่า สอนแบบไม่กั๊ก
ใช่ครับคุณไม่ได้ตาฝาด ย้ำอีกครั้งก็ได้ว่า “สอนแบบกั๊ก ดีกว่า สอนแบบไม่กั๊ก” ตัวผมเคยสอนเด็กอยู่สองคน คนแรกเป็นเด็กนักเรียนโรงเรียนทวีธาภิเศก อีกคนเป็นเด็กนักเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนท์ เด็กสองคนนี้เป็นเด็กที่เรียนเก่งทั้งคู่ เด็กทวีธาภิเศกเป็นเด็กที่อยู่ห้องคิง และเป็นอันดับหนึ่งของระดับชั้นมาโดยตลอด สำหรับเด็กเซนต์โยเซฟ เป็นเด็กที่อยู่อันดับต้นๆของระดับ ที่ได้เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด การสอนของทั้งสองคนนี้ผมสอน “แตกต่างกัน” คนแรกผมสอนเทคนิคที่ผมมีอยู่ในหัวทั้งหมดให้กับเค้า ส่วนคนสองผม “เลือก” ที่สอนเทคนิดบางอย่างให้กับเค้า หลังจากประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย วิชาคณิตศาสตร์ เด็กคนแรกได้ 65 คะแนน เด็กคนที่สองได้ 92 คะแนน เกิดอะไรขึ้น?? จากข้อสรุปง่ายๆอย่างหนึ่งที่ผมต้องการจะบอกคือ ในบางครั้งการสอนทั้งหมด แทนที่จะเป็นผลดีกับเด็ก แต่เป็นผลเสียมากกว่า เพราะ เมื่อถึงเวลาจริง เด็กคนนั้นจะเอาไปใช้ไม่ได้เลย และจะสับสนมากกว่าที่จะสามารถทำข้อสอบได้อย่างรวดเร็ว ก็คงไม่ต่างจาก โดเรม่อน ที่เวลาคับขัน ก็มักจะควักของวิเศษมากมายมากองไว้ตรงหน้า แล้วก็ใช้ไม่ได้ซักกะอัน
อย่างไรก็ตาม การสอนแบบกั๊ก จะต้อง “สอนครบ” หมายความว่า หัวข้อจะต้องไม่กระโดด มีความต่อเนื่อง และค่อยๆสอนเทคนิคที่ “เหมาะสม” กับเด็กแต่ละคนไป บางคนอาจจะไม่สอนเทคนิค อะไรเลย บางคนอาจจะสอนแค่บางอย่าง จะตราหน้าผมว่าเป็น “ไอ้กั๊ก” ก็ได้ ผมไม่ว่าครับ แต่จากประสบการณ์สอนพิเศษ กว่าสิบปีของผม บอกว่า “เด็กแต่ละคน ย่อมรับกับของบางอย่างเท่านั้น ที่เหมาะกับเค้า” ติวเตอร์บางคนเห็นว่า เด็กหัวไม่ดี จะต้องเอาแบบฝึกหัดยากๆ เยอะๆ เทคนิคเพียบ มาให้ทำ บอกได้เลยครับว่า ถ้าสอนแบบนั้น เด็กจะไม่ได้อะไรกลับบ้านไปเลย ผมรู้สึกเห็นใจติวเตอร์บางท่าน ที่ตั้งใจสอน เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี หวังว่าจะให้ลูกศิษย์ได้ความรู้อย่างเต็มที่ และเมื่อเริ่มการสอนพิเศษ ในครั้งแรกๆโดยการ สอนๆๆๆๆๆๆ และสอนๆๆๆๆ แต่ท้ายสุดกลับ เจ็บใจกับคำพูดที่ตอบกลับมาว่า “อาจารย์พูดอะไรไม่รู้เรื่องเลย”
วัฒนธรรมอย่างหนึ่งของ อาจารย์คนไทย (มักจะพบได้กับอาจารย์จบใหม่ ไฟแรง) คือ “สอนทุกอย่าง ในสิ่งที่ตนเองรู้ทั้งหมด ให้กับลูกศิษย์” ซึ่งผมมองว่า มันไม่ดีเลย สำหรับผู้ที่ได้อ่านบทความนี้ของผม (ต้องขอขอบคุณ กูเกิ้ล) ช่วยๆกันเปลี่ยนใหม่ดีกว่าไหมครับ “สอนทุกอย่างให้กับลูกศิษย์ ในแบบที่เค้าควรจะรู้”

สอนถูกใจนำ สอนถูกต้องตาม
หลายท่านอาจจะดูงงๆ เปลี่ยนเป็นคำพูดใหม่ “นอกเรื่องนำ วิชาการตาม” หัวข้อนี้เป็นวิธีการสอนที่เหมาะอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กแสบๆที่ไม่ตั้งใจเรียน หรือเด็กเล็กที่มีสมาธิสั้น มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมได้มีโอกาสสอน พิเศษเด็กคนหนึ่งที่จัดว่า แสบ มาก ไม่มีติวเตอร์สอนพิเศษคนไหนเอาอยู่ เปลี่ยนติวเตอร์มาแล้วทั้งสิ้น 5 คนในหนึ่งปี ในการสอนครั้งแรกของผม ผมเริ่มด้วยการคุยทั้งสองชั่วโมง คุยในเรื่องที่เค้าชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกมส์ เรื่องหนัง เรื่องเพลง เรื่องฟุตบอล ทุกๆเรื่องที่จะขุด เสาะแสวงหามาคุย คุยอยู่สองชั่วโมง จนไม่ได้สอนอะไรเลย แล้วก็เมื่อถึงเวลา ก็แยกย้ายกลับบ้านไป (ผมคิดเงินด้วยนะ ค่าจ้างที่ผมมานั่งคุยน่ะ) ผมอยากจะถาม ผู้อ่านทุกท่าน ผมสอนดีไหม?? ส่วนใหญ่น่าจะเป็นการมองว่า เสียเวลาเด็ก เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสอนดีหรือเปล่า รู้แต่เพียงว่า ผมสอนพิเศษเค้ามาสามปี จนเข้ามหาวิทยาลัยได้ ไม่เคยเปลี่ยนติวเตอร์ แล้วก็โดดน้อยมาก ว่างๆก็จะแวะมาหาผม ชวนไปกินข้าว ตกลงผมสอนดีหรือเปล่าล่ะ?? เด็กที่ไม่ตั้งใจเรียน เด็กแสบ เด็กเฮี้ยวทั้งหลาย จะมีสิ่งหนึ่งที่มากกว่าเด็กทั่วไปคือ “กำแพงกั้นระหว่างครู กับลูกศิษย์” กำแพงนี้เป็นกำแพง ที่เราไม่สามารถลดได้ แต่เราสามารถทำให้เค้า ลดลงมาด้วยตัวเค้าเอง การสอนที่จะทำให้เค้าลดกำแพงลงคือ “ทำให้เค้ารู้สึกว่า เราเป็นครูที่น่าเคารพ” ไม่ใช่ “อาจารย์ที่ต้องเคารพ” และเมื่อใดก็ตามที่เค้าลดกำแพงลง เค้าจะพร้อมที่จะเปิดใจ รับฟังคำพูดทางวิชาการที่เราจะใส่ลงไปให้เค้า สำหรับการสอนในครั้งที่สอง ผมนอกเรื่องอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นผมก็เริ่มสอน “วิชาการแบบง่าย” ซึ่งในการสอนพิเศษ เด็กคนนี้ในครั้งต่อๆไป ผมจะคุยนอกเรื่องลดลง วิชาการมากขึ้น จนผ่านไปได้ระยะหนึ่ง ผมเริ่มด้วยวิชาการไปเลย และเพิ่มความยากขึ้นตามลำดับ การสอนก็ประสบความสำเร็จ ไปด้วยดี
อย่างไรก็ตามการสอนพิเศษด้วยวิธีนี้ มักจะใช้ไม่ได้ผลเลยกับเด็กที่ตั้งใจจะมาเรียนอย่างเดียว ดังนั้น บางครั้ง อาจจะใช้ วิชาการนำ นอกเรื่องตาม ก็เป็นไปได้นะครับ ปรับเปลี่ยนไปตามอุปนิสัยของเด็ก แต่สิ่งที่อยากจะเตือนไว้ คือ “อย่าให้เด็กนอกเรื่องทุกครั้ง และเนิ่นนานเกินไป” เพราะจะทำให้เด็กไม่ได้อะไร เสียเวลา และเสียเงิน ในตรงจุดนี้ตัวติวเตอร์ ต้องคอยดึงเด็กให้กลับมาด้วย อย่าปล่อยให้เลยตามเลย
วิชาเกินนำ วิชาการตาม
ก่อนที่จะลงรายละเอียดในหัวข้อนี้ ลองมาดูคำพูดบางอย่าง 2 แบบ ดังต่อไปนี้ก่อนนะครับ
แบบที่ 1 “นิยามของสามเหลี่ยมมุมฉาก คือสามเหลี่ยมที่มีมุมหนึ่งเป็นมุมฉาก และมีด้านสามด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านตรงข้ามมุมฉาก และด้านอีกสองด้าน เป็นด้านประกอบมุมฉาก ”
แบบที่ 2 “คุณสมบัติของสามเหลี่ยมมุมฉาก คือมันจะมีมุมนึงเป็นมุมฉาก มีด้านเอียงๆเป็นด้านที่ยาวที่สุด และมีอีกสองด้าน ที่แปะอยู่ที่มุมฉาก”
แบบที่ 1 “รู้ไหม cat เป็น noun”
แบบที่ 2 “รู้ไหม cat เป็น คำนาม”
แบบที่ 1 “มุมแหลมคือมุม ที่กางมากกว่า ศูนย์องศา แต่น้อยกว่า เก้าสิบองศา”
แบบที่ 2 “มุมแหลม มันก็เหมือนปลายดินสอที่มันแหลมๆนั่นแหละ”

จะเห็นได้ว่า ในแบบที่สอง การอธิบายอาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เป็นคำอธิบายที่ง่ายแต่ความเข้าใจ นี่คือความหมายของคำว่า “วิชาเกิน นำ วิชาการ” วิชาเกินคือคำพูดที่อาจจะผิดหลักอยู่บ้าง แต่ก็ฟังง่าย จำง่าย วิชาการคือ คำพูดที่ถูกต้องเป๊ะตามหลักของวิชาการ ถึงแม้ว่าจะถูกต้อง แต่ฟังยาก จำยาก และเด็กก็จะไม่อยากจำด้วย สิ่งหนึ่งที่ผมมักจะเห็นการสอน ของอาจารย์ที่สอนประจำโรงเรียน อาจารย์ที่จบใหม่ๆ หรืออาจารย์ที่มีอีโก้ แรงๆ (ประมาณว่า ข้าเก่งที่สุดในแผ่นดินสยาม) มักจะอธิบายการสอน ด้วยแบบที่ 1 แทบทั้งสิ้น ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะว่า เรียนมาแบบนี้ จึงสอนเด็กออกไปแบบนี้ อาจารย์บางท่าน เปิดเรื่องมาด้วยบทนิยามที่ซับซ้อน แล้วตอนจบล่ะ?? บอกได้เลยครับว่า ตัวอาจารย์จะไม่รู้สึกตัวเลย ว่าตัวเองสอนไม่รู้เรื่อง เพราะ พูดด้วยนิยามเป๊ะๆ นี่เป็นกับดักที่ น่ากลัวอย่างมากครับ เป็นกับดักของตัวอาจารย์เอง ทำมาดักตัวเอง ตัวผมเองเคยนั่งคุยกับลูกศิษย์ที่เรียน อยู่ที่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่ง เด็กบอกว่า อาจารย์สอนเลขที่โรงเรียนเขา สอนอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้เรื่องเลย เด็กทั้งห้องนั่งงง ได้แต่จดๆๆๆ แล้วก็จด ไปโดยที่ ไม่รู้ว่า อาจารย์บ่นอะไร ผมเอาชีทของเด็กคนนั้นมาดู ผมเลยรู้เลยว่า อาจารย์ท่านนี้ ยังอยู่ในวังวนของ “วิชาการ” อยู่เลย สิ่งที่ผมถามเด็กคนนั้นต่อ ก็คือ อาจารย์คนนั้น อายุเท่าไหร่เหรอ? เด็กบอกว่า อายุประมาณ 50 กว่าๆ ผมก็นึกในใจว่า “คงแก้กันยากแล้วล่ะ” หากมีใครไปบอก อาจารย์แกคง ยืนยันด้วยคำเดิมว่า “ข้าสอนดีเฟ้ย” เฮ้อ..... รู้สึกเหนื่อยใจแทนเด็กนักเรียน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากจะเตือน ติวเตอร์ที่สอนโดยเอาวิชาเกินนำ เพียงอย่างเดียว คงไม่ดีเท่าไหร่ เพราะท้ายสุด เด็กจะละเลย ความถูกต้อง ดังนั้น เมื่อใช้วิชาเกินนำ ทำให้เด็กเข้าใจ อย่าลืมตบท้ายด้วยวิชาการ ด้วยนะครับ สำคัญนะครับ “วิชาเกิน นำ วิชาการ ตาม”
สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากไว้ โดยเฉพาะติวเตอร์ที่สอนคณิตศาสตร์ คือ การพิสูจน์สูตรต่างๆ ไม่จำเป็นเท่าไหร่หรอกครับ เพราะเด็กไม่ได้เอาไปใช้ การสอนพิสูจน์ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ท้ายสุดก็เป็นการสอนที่เสียเวลา และ ทำให้เด็กสับสน ง่ายๆลองนึกถึง การทำ “ข้าวผัด” ถ้าอาจารย์มาสอนว่า ข้าวแต่ละเม็ด ประกอบไปด้วยโมเลกุลอะไรบ้าง น้ำตาล น้ำปลา ทำมาจากอะไร มีวิธีการทำแบบไหน มันคงงงน่าดู เพราะเด็กไม่สนใจหรอก รู้แต่ว่า ถ้าเอาข้าวมาผัด รวมกับหมู ใส่น้ำตาล ใส่น้ำปลา เครื่องปรุง และผักต่างๆ ออกมา “ขอให้อร่อยและกินได้” ก็พอ ผมเคยเห็นติวเตอร์ท่านหนึ่ง นั่งพิสูจน์ทฤษฎีบท ทางตรีโกณมิติอยู่ 2 ชั่วโมง เสียเวลา ไม่มีประโยชน์กับเด็กเลย สิ่งที่ผมย้ำก็คือ การพิสูจน์ไม่จำเป็นสำหรับเด็กทั่วๆไปเลย แต่หากเด็กนักเรียนต้องการรู้ที่มา ค่อยเอามาถามนอกรอบดีกว่า
หัวใจ... สำคัญกว่าแขนขา ภาพรวม... สำคัญกว่ารายละเอียด
ในสมัยก่อน เวลาผมสอนคณิตศาสตร์ ผมมักจะเริ่มบทใหม่ โดยใช้เวลาไม่นานนัก จากนั้น ก็รีบลงรายละเอียด ทันที ยกตัวอย่างเช่น ตอนผมสอนบท ภาคตัดกรวย ผมจะรีบลงรายละเอียด วงกลม พาราโบลา วงรี และ ไฮเปอร์โบล่า ผมใช้เวลานานพอสมควรในการ พูดถึงรายละเอียดปลีกย่อย ของกราฟแบบต่างๆ พอจบบท ผมย้อนถามเด็กๆว่า “กราฟมาจากอะไร......” นี่เป็นคำถามที่ง่ายที่สุด แต่เชื่อไหมว่า เด็กในห้อง ไม่มีใครตอบได้เลย.... ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ลองโยกไปในวิชาภาษาอังกฤษดูบ้าง เช่น ผมสอนโครงสร้างประโยค อย่างละเอียด สอนวลี แบบต่างๆ พอจบบท ผมถามเด็กกลับไปว่า “ประธาน คือ อะไร” แล้วเด็กตอบไม่ได้..... นี่คือหัวข้อที่ผมต้องการสื่อความหมายครับ
ติวเตอร์กว่าร้อยละ 90 มักจะสอนพิเศษ โดยมองข้าม “หัวใจสำคัญของแต่ละบท” ไม่ค่อยสนใจในภาพรวม ไม่สนใจว่า เรียนไปทำไม เพื่ออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร เมื่อสอนรายละเอียด ถึงแม้ว่าเด็กจะเข้าใจ แต่ผมต้องการบอกว่า “ถ้าไม่สอนภาพรวม เด็กจะไม่เข้าใจอยู่ดี” แล้วหากเน้นเจาะแต่รายละเอียดจะ มีข้อเสียอย่างไร?? ผมต้องการบอกว่า ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบัน รวมถึงข้อสอบแข่งขันในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบสมาคม ข้อสอบโอลิมปิค หรือข้อสอบชิงทุน ข้อสอบส่วนใหญ่ “เริ่มการแก้ปัญหาจากภาพรวม แล้วค่อยลงไปในรายละเอียด” หากเด็กไม่เข้าใจในภาพรวม เด็กจะทำข้อสอบได้น้อยกว่า ความสามารถของเขา จากจุดนี้ ในช่วง ห้าปีหลัง นี้มา ในระหว่าง ที่ผมสอนรายละเอียด ผมก็มักจะย้ำภาพรวม ไปในตัวด้วย อยู่เสมอๆ ด้วย การสอน แบบนี้ทำให้ เด็กนักเรียนของผม สอบได้คะแนนค่อนข้างดีทีเดียว สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะย้ำเพิ่มเติม คือ ผมเชื่อว่า “สูตรลัด มีประโยชน์ แต่ สูตรลัดที่มากไป จะกลายเป็นโทษมหันต์” ผมเห็นการสอนพิเศษที่สถาบันต่างๆ เช่นที่ สถาบัน J และ สถาบัน G (ไม่ขอเอ่ยนามนะครับ คิดกันเอง) สอนพิเศษแต่สูตรลัดๆๆๆๆๆๆ บางครั้ง คิดโจทย์ขึ้นมาเอง แล้วก็ใช้สูตรลัดของตัวเอง แล้วก็บอกว่ามันดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ท้ายสุดเด็กได้แต่จำ พอถึงเวลา เอาไปใช้อะไรไม่ได้ สร้างความสับสน แล้วก็จบกัน.... การสอนพิเศษแบบใช้สูตรลัด แม้ว่าจะทำให้ตื่นเต้น และสร้างความประทับใจให้กับเด็กอย่างมาก แต่ “หากคุณต้องการเป็นอาจารย์ที่ดี สูตรลัดระดับเทพของคุณ เก็บไว้บนหิ้งเถอะครับ” หากคิดอยากจะสอน เอาแบบลัดนิดๆ ทำให้วิธีคิดดูฉลาดขึ้น สามารถเอาไปใช้ได้จริง ในสถานะการณ์ส่วนใหญ่ อย่างนี้น่าประทับใจกว่า
สำหรับติวเตอร์บางท่าน อ่านตรงส่วนนี้ พอเข้าใจ แต่ก็อาจจะมีคำถามขึ้นมาในในว่า “แล้วไอ้หัวใจสำคัญที่ว่านี่ จะสอนยังไง” ลองมาดูตัวอย่างแบบนี้นะครับ ผมขอยกตัวอย่างในวิชาคณิตศาสตร์ ในบทเรื่อง “เรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่“ แล้วกัน (บางคนอ่านไม่เข้าใจ ก็อย่าว่ากันนะครับ)

“สมมุติว่า ผมมีตัวอักษร อยู่สามตัวนะ เป็นตัวอักษร A ตัวอักษร B แล้วก็ตัว C อ้าววว ไหนลองเอาตัวอักษรสามตัวนี้ มาเขียนเรียงสลับกันไปมา ซิ ว่ามันจะได้กี่แบบ ลองนับดูๆ จะได้ ABC แล้วก็ ACB แล้วก็ BAC แล้วก็ BCA แล้วก็ CAB แล้วก็ CBA มีอีกไหมหว่า???? หมดแล้วเน๊อะ ทั้งหมด ก็นับได้ 6 แบบ เน๊อะ”
“อะ คราวนี้ ถ้าผมมีตัวอักษร ห้าตัว เป็นตัวอักษร A,B,C,D และ E ถ้าเอามาเรียงสลับกันไปมา แล้วมันจะได้กี่แบบหว่า???? โห... มันคงเยอะน่าดูเลยอะ งานนี้มานั่งนับแบบเดิมคงไม่ไหว มันก็ต้องมีวิธีการคำนวณใช่มะ?? เราก็เลยต้องมาเรียนบท เรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ยังไงล่ะ”

พอจะเห็นอะไรจากคำพูดข้างต้นของผมไหมครับ??? ผมกำลังจะบอกกับนักเรียนว่า “หัวใจสำคัญของบทนี้ คือวิธีการคำนวณว่า มันมีกี่แบบ ไม่ใช่การมานั่งนับแบบเดิมๆ” หลังจากที่ผมอธิบาย ภาพรวมของเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว เมื่อผมลงรายละเอียด ย่อยๆลงไป ผมเชื่อว่า เด็กก็ยังไม่หลุด เพราะเค้าก็ยังเชื่อว่า ไม่ว่าจะลงรายละเอียดแค่ไหน มันก็ยังคงอยู่ในเนื้อหาแบบเดิมๆ คือ “วิธีการคำนวณว่า มันมีกี่แบบ ไม่ใช่การมานั่งนับแบบเดิมๆ”
ข้อต่อ ทำให้ เคลื่อนที่ได้อย่างนุ่มนวล
หลังจากที่ผมพูดถึง ความสำคัญของหัวใจ กันไปในหัวข้อที่แล้ว คราวนี้ผมจะมาพูดถึง “รายละเอียด” กันบ้าง แน่นอนว่า การสอนหนังสือ ให้เด็กเข้าใจอย่างครบถ้วน ก็ต้องลงรายละเอียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะลงรายละเอียด แต่ “จำเป็นต้องเชื่อมต่อรายละเอียดของแต่ละอันด้วย” ไม่ใช่ พูดขึ้นมาลอยๆ พอจบ ก็ลงรายละเอียดอันใหม่ แล้วก็จบไปทีละอันๆ อย่างนี้ ก็จบข่าวเลยครับ ในหัวข้อนี้ผม ไม่ต้องการอธิบายยืดเยื้อ เรามาลองดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า ผมขอยกตัวอย่างในวิชาคณิตศาสตร์เช่นเคยนะครับ เป็นบท “จำนวนเชิงซ้อน” ก็แล้วกัน

“ไอ้จำนวนเชิงซ้อน ฟังดูแล้วมันก็ดูยากๆพิกล เอางี้...จำนวนเชิงซ้อน มันก็คือจำนวน นี่แหละ”
“แล้วไอ้ จำนวน ที่เราเรียนกันมาตั้งแต่ ตัวเท่าลูกแมว มันเอาไว้ทำอะไรกันบ้างล่ะ แน่นอนว่า มันก็ต้องเกี่ยวกับ การบวก ลบ คูณ แล้วก็ หารใช่มะ???? ซึ่งถ้ามัน บวก ลบ คูณ หาร กันได้ ไอ้จำนวนเชิงซ้อนที่ว่าเนี่ย มันก็ต้อง บวก ลบ คูณ หารได้เหมือนกันแหละ เพราะมันก็คือ จำนวน เหมือนกัลลลลล”

อ่านดีๆนะครับ เห็นสั้นๆ แต่ความหมายลึกซื้งนะครับ อย่างแรก ผมสอน “หัวใจสำคัญ” นั่นคือ จำนวนเชิงซ้อน ก็ยังคงเป็นจำนวนที่เราเคย รู้มาตั้งแต่เด็ก อย่างที่สอง ผมกำลัง “เชื่อมต่อ” ระหว่างจำนวนธรรมดา กับ จำนวนเชิงซ้อนว่า มันมีคุณสมบัติ ของการ บวก ลบ คูณ และ หาร ด้วย
ในช่วง เจ็ดปีมานี้ ผมไม่เคยเตรียมการสอนเลย หลายคนอาจจะคิดในใจว่า เออ... เอ็งมันเก่ง อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิดครับ ผมอยากจะบอกว่า “เตรียมคำพูด สำคัญกว่า การเตรียมสอน” ทุกครั้งที่ผมจะสอนพิเศษ ผมจะมานั่งเงียบๆคนเดียว คนทั่วไปมองว่า ผมนั่งเฉยๆ แต่ที่จริงแล้ว ผมกำลังเตรียมคำพูดที่กลั่นกรองว่า “จะพูดให้ง่ายทำยังไง จะเชื่อมต่อทำยังไง จะอธิบายภาพรวม ทำยังไง” มากกว่า ถึงแม้ว่า ผมจะสอนพิเศษมาสิบกว่าปีแล้ว ผมก็ไม่เคยละเลยที่จะทำแบบนี้ ดังนั้น อย่าเพิ่งมองผมแต่ภายนอกครับ ผมยังเตรียมทุกวันครับ แต่ไม่ใช่การเตรียมการสอน แต่ “เตรียมคำพูด” ครับ
เด็กบางประเภทที่ไม่ควรสอน
ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกิดจากประสบการณ์ตรงของผมเอง แน่นอนว่าทุกวันนี้ชีวิตการสอนหนังสือของผม ก็ไม่ได้ราบรื่นตลอด หลายคนที่อ่านบทความ นี้อาจจะมองว่าผมเป็นครูตัวยง ที่สอนเด็กได้ทุกประเภท คำตอบคือไม่ใช่ ผมมักจะเลี่ยงกับเด็ก หรือผู้ปกครองบางประเภท เพราะผมก็ไม่อยากที่จะปวดหัว และอายุสั้น ผมคิดว่าผมควรจะเก็บอายุของผมไว้สอนเด็กคนอื่นๆได้อีกมาก เด็กประเภทที่ผมจะไม่สอนจะมีดังต่อไปนี้
มารยาททราม ผมเคยสอนเด็กคนหนึ่งเป็นเด็ก ม.4 ผู้ชาย อยู่โรงเรียนชื่อดังในเครือคาธอลิค เวลาเด็กคนนี้โมโห เมื่อเวลาเค้าพูดกับแม่ของเค้า จะใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า กู..... ในขณะที่เค้าใช้สรรพนามเรียกแม่ของเค้าว่า มึง..... คงไม่ต้องมานั่งบอกเหตุผลนะครับ ว่าทำไมผมไม่สอน และเด็กที่มีบางอาการที่เรียกว่า นั่งด่าอาจารย์ที่โรงเรียนให้ฟัง ใช้สรรพนามว่า อีนี่แม่ง.... ไอ้นั่นแม่ง.... โอ้โห ตัวเองละก็ดีตายเลย โอเคครับ (มึง) กลับบ้านไปเถอะครับ!!
กบในกะลา ชาล้นถ้วย ป่วยไม่รักษา เด็กที่มีอาการเป็นกบในกะลามักจะมีคำพูดติดปากว่า ตรงนี้ผมรู้แล้ว ตรงนั้นผมรู้แล้ว อ๋อ ตรงนี้ผมเก่ง ตรงนี้ข้ามไปก็ได้ครู ผมได้แล้ว เวลาผมเจอคำพูดเหล่านี้บ่อยๆ ผมมักจะหยิบข้อสอบ PAT 1 ออกมาแล้ววางไว้ตรงหน้าเด็ก แล้วพูดออกไปว่า “งั้นเราทำตรงนี้ให้ดูหน่อยสิ” ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มักจะทำไม่ได้ สำหรับอาการกบในกะลา กับชาล้นถ้วยมักจะมีอาการคล้ายๆกัน แต่ชาล้นถ้วยคือ ไม่ค่อยยอมรับ ยอมฟังวิธีอื่นๆ ที่สามารถทำความเข้าใจได้ดีกว่า มักจะมีคำพูดติดปากว่า “ไม่เห็นกับที่โรงเรียนสอนเลย” หรือไม่ก็ “ไม่มีสูตรลัดหรือครู” อะไรทำนองนี้ งั้นน้องก็ไปเรียนสูตรลัดกับครูที่โรงเรียนน้องเหอะนะ อย่ามาเรียนกับครูเลย !! สำหรับในสามอาการข้างต้น อาการป่วยไม่รักษา ดูจะน่ากลัวที่สุด เพราะมันจะเป็นอาการของคนที่ขี้เกียจ แต่จะมาให้เราสอนให้เก่ง ให้สอบผ่าน บอกได้เลยว่า “มันเป็นไม่ได้” คำว่ารักษานั้น หมายถึง การรักษาด้วยตัวเอง นั่นคือ หากคนไหนรู้ตัวว่าตนเองขี้เกียจ แต่ไม่ยอมแก้ด้วยตัวเอง จะไปให้คนอื่นแก้ ไม่มีทางเป็นไปได้ เต็มที่ก็ทำได้แค่ให้อาการทรงๆ ไม่ให้ทรุดลงไปกว่านี้ ฮ่วย ข้าไม่ใช่เทวดานะเฟ้ย การสอนพิเศษที่ดีและเห็นผลชัดเจน คือจะต้องเป็นแบบ พบกันครึ่งทาง หมายความว่า ผู้สอนก็ต้องตั้งใจสอน และผู้เรียนก็ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง ขยัน และค่อยๆมีความตั้งใจเพิ่มมากขึ้น เด็กแบบนี้ ต่อให้ซื่อบื้อแค่ไหน ผมสอนตายเลยครับ
พ่อ แม่ ที่คิดว่าลูกตัวเองเป็นเทพจุติ ผมเคยสอนเด็กคนหนึ่งเมื่อกลางปี 53 พ่อ แม่ ของเค้ามาหาผมที่สถาบัน บอกว่าช่วยสอนลูกเค้าให้หน่อย เพราะได้คะแนนสอบ PAT ในครั้งที่หนึ่งออกมาน้อยมาก ถ้าจำไม่ผิด น่าจะได้ประมาณ หกสิบกว่าๆ เต็มสามร้อย พ่อ และ แม่ของเด็กคนนั้น บอกว่าให้ใช้เวลาที่เหลือประมาณหนึ่งเดือนกว่า ช่วยติวลูกเค้าให้ทันในการสอบในครั้งที่สองของปี (ในสมัยก่อน การสอบ PAT จะสอบปีละสามครั้ง โดยจะเป็นช่วงมีนาคม ปลายกรกฎาคม และต้นตุลาคม) โดยคำถามแรกที่แม่ของเค้าถามผมได้ถามว่า จะต้องติวกี่ชั่วโมงถึงจะจบ? ซึ่งตัวผมก็ตอบไปแบบกลางๆคือประมาณ 100 ชั่วโมง แม่เค้าบอกว่าจะให้ลูกเค้าติวในวันเสาร์ อาทิตย์ ทั้งวัน วันละ 7 ชั่วโมง เวลาที่เหลือก็น่าจะ สอนได้เนื้อหาประมาณครึ่งหนึ่ง คะแนนคงจะขึ้นมาอีก !!? อนิจจางานเข้าเลย เด็กคนนี้เป็นเด็กต่างจังหวัด เรียนเลขที่โรงเรียนได้เกรด 3.5-4 มาโดยตลอด พ่อ และ แม่เข้าใจว่าลูกตัวเองเก่ง แต่สิ่งที่เค้าเข้าใจ อย่างกับ ฟ้ากับเหว เด็กคนนี้ยังทำเนื้อหาของสมการที่อยู่ ม.3 ยังครึ่งๆกลางๆอยู่เลย เวลาบวกเลข ยังเอานิ้วขึ้นมานับ อ่านโจทย์ยังตีความไม่ได้เลยซักข้อ การเรียนวันละ 7 ชั่วโมง ผมอยากจะบอกว่า แค่ชั่วโมงแรก ก็เอ๋อไปไหนไม่เป็นแล้ว ผมใช้เวลานานพอสมควรที่จะค่อยๆปูพื้นฐานให้ใหม่ ดังนั้นเวลาที่เหลือ จึงสอนได้เพียงแค่สองบท เท่านั้น คะแนนในการสอบออกมาได้ประมาณ ห้าสิบกว่า เมื่อผู้ปกครองรู้ดังนั้น จึงโทรมาถามผม พร้อมกับผมทำนองตัดพ้อว่า คงต้องเลิกเรียนกับผม เพราะคะแนนลูกเค้าลดลง ผมรู้สึกโล่งใจมาก ซึ่งผมก็คิดในใจว่า ก็ดีเหมือนกันกับผู้ปกครองบางประเภทที่คิดว่าลูกตนเองเป็นเพชร แล้วก็เอาดินก้อนหนึ่งมาโยนให้แล้วบอกว่า ช่วยจาระไนเพชร (ดิน) เม็ดนี้ให้เสร็จภายในเวลาสองเดือน ฮ่วย ไปเรียนกับปรมาจารย์ตั๊กม้อเถอะ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
ผมเชื่อว่าติวเตอร์หลายท่าน โดยเฉพาะติวเตอร์ใหม่ๆนั้น ย่อมไฟแรงกันทุกคน บางคนอธิบายอย่างสุดชีวิต นั่นคือ พูดอย่างเดียว และถามเป็นอยู่คำถามเดียวว่า "เข้าใจไหม" เมื่อเด็กพยักหน้าก็อธิบายต่อไปเรื่อยๆ แล้วก็กลับมาตั้งคำถามแบบเดิมอีกไปเรื่อยๆ พูดง่ายๆว่า ถ้าเด็กส่ายหัวก็อธิบายใหม่ นักเรียนพยักหน้าก็อธิบายต่อ สรุปคือมีสองแบบได้แก่ ส่ายหัวกับพยักหน้า การกระทำแบบนี้เป็นการกระทำที่อาจจะทำให้ ติวเตอร์หลายๆท่าน เด็กหลุดได้อย่างง่ายๆ เพราะเด็กไทย มักจะมีนิสัย (จะว่าเป็นสันดานก็คงได้) ว่า "แม้ว่าข้าไม่รู้แต่ก็ต้องพยักหน้าไว้ก่อน" บางคนก็จะออกอาการเงียบเข้าไว้ อย่ามายุ่งกับข้า ดังนั้น ขอเแนะนำวิธีการอีกสองอย่างที่อาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ กับหลายๆท่านได้คือ
1. ให้ทำแบบฝึกหัด อันที่จริงวิธีนี้เป็นวิธียอดฮิต ที่ติวเตอร์หลายๆท่านทำกัน นั่นคือ ถ้านักเรียนทำได้ ก็แสดงว่าเข้าใจ แต่ ถ้าทำไม่ได้ก็หมายถึงไม่เข้าใจ วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีมากกครับ เพราะ จะได้เช็ค และให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดไปในตัว แต่ผมมองว่าบางทีก็ช้าไปกว่าจะรู้ได้ว่านักเรียนคนนั้น เรียนไม่รู้เรื่อง
2. ให้นักเรียนอธิบายสิ่งที่เราสอนไป วิธีนี้เป็นวิธีที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะจะรวดเร็วทันใจเลยก็ว่าได้ ว่ารู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่อง นั่นคือ ทุกครั้งที่เราสอนอะไรไปซักหัวข้อหนึ่ง เราจะต้องให้นักเรียนอธิบายเรากลับมาว่า สิ่งที่เค้ารู้เรื่องนั้น เค้ารู้เรื่องอะไรแค่ไหน สรุปให้เราฟัง บางทีถ้าเค้ายังไม่เข้าใจ ก็จะอธิบายไม่ค่อยได้ หรืออธิบายออกทะเลไปเลย แต่อย่าหวังว่าเค้าจะอธิบายได้ออกมาร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหน้าที่ของเราก็คือ ให้เราอธิบายภาพรวมสรุป กำกับไปอีกครั้งหนึ่งด้วย
อย่าตอบคำถามที่ไม่ควรตอบ
จะว่าไปแล้วการที่เราเป็นครูไม่ต่างอะไรกับอาชีพไกด์ ที่จะต้องพานักท่องเที่ยว (นักเรียน) ไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่เคยไป นักท่องเที่ยวบางคนเคยไปแล้วไปอีกในบางสถานที่ (มัน) ยังจำไม่ค่อยได้เลยว่า อ๊ะ!!! นี่ตูเคยมาแล้วเหรอฟระ!? แต่การที่เราจะเป็นไกด์ได้นั้น แน่นอนว่าจะต้องไปในสถานที่ต่างๆมาพอสมควร ที่จะหลับตาบรรยายให้เห็นภาพได้ สำหรับนักท่องเที่ยวบางคน (แค่บางคน) จะถามเอาไว้ก่อนว่า ที่นั่น ที่นี่ เป็นอย่างไร หากเราเผลอตอบไป มันจะมีคำถามใหม่มาอีกชุด อีกชุด และอีกชุด สรุปมันก็ไม่เข้าใจ และก็ยังคงงงอยู่ดี เพราะไอ้ที่มันถามนั้น จะว่าแล้วมันก็ไม่เคยได้ไปสัมผัสกับเค้าเลย (แต่กรูขอถามไว้ก่อน จะลองภูมิ หรือจะโชว์พาวก็แล้วแต่จะคิด) แต่การตอบคำถามไปเรื่อยๆอย่างนี้ไม่ดีแน่!!! เพราะจะไม่ช่วยให้เข้าใจขึ้น การตอบคำถามเราต้องเลือกที่จะตอบ และเลือกที่จะไม่ตอบ สำหรับคำถามบางประเภทที่เด็กยังไม่ควรรู้ ผมจะตอบไปตรงๆกับเด็กคนนั้นว่า "เดี๋ยวก่อน!!! เดี๋ยวจะบอก คุณยังไม่ควรรู้ตอนนี้ เพราะเดี๋ยวงง" หากเด็กไม่ฟัง หรือแสดงสีหน้าไม่พอใจ สำหรับผมแล้วมีอย่างเดียวคือ ไปเรียนกับคนอื่น อย่ามาเรียนกับผม ผมไม่ค่อยชอบใจเท่าไหร่นักที่ผมจะต้องตอบคำถามไปเรื่อยๆ ในขณะที่มันไม่ช่วยทำให้ชีวิต (เอ็ง) ดีขึ้น แล้วเราควรจะตอบตอนไหนล่ะ? บอกง่ายๆไปคิดเองคือ เราควรจะตอบตอนที่เด็กคนนั้นเคยไปสถานที่นั้นมาแล้ว แต่ไม่กระจ่าง หรือว่าลืมนั่นเอง
สร้างความสัมพันธ์กันในห้อง
ออกตัวกันก่อนว่าอันที่จริงสถาบันแห่งนี้ไม่ได้ใหญ่โตอะไร จะว่ากันตามตรงก็ไม่มีชื่อเสียงอะไรมากนัก (แต่ก็ไม่เคยมีชื่อเสียนะครับ) จะไปเทียบหรือไปแข่งกับสถาบันที่มีเด็กมานั่งเรียนกันทีละเป็นร้อยๆคนล่ะก็ เป็นไปไม่ได้ อีกอย่างประเภทที่เรียกว่ามานั่งเรียนกับวีดีโอล่ะก็ผมไม่เคยคิดจะทำ และก็สาบานไว้ว่าในชีวิตนี้จะไม่ทำอย่างนั้นเด็ดขาด สิ่งที่มีอยู่ในสถาบันนี้หากได้เ้ข้ามาสัมผัสกันอย่างจริงจัง เราะจะเห็นเด็กแทบทุกคนสนิทสนมกับพี่ที่เคาเตอร์ต้อนรับ เราจะเห็นเด็กหลายๆคนมาชวนคุณครูคุยเรื่องจิปาถะ เรื่อยเปื่อย บางคนก็จะมานั่งบ่นปัญหาชีวิตส่วนตัวให้ฟัง มีมากมายหลายอย่างที่จะคุยกันไปได้เรื่อยๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ ที่นี่มี แต่ผมเชื่อว่าที่อื่นจะไม่มีคือ การที่เด็กนักเรียนจากต่างโรงเรียนและไม่เคยรู้จักกันมาก่อน มาช่วยกันติว ช่วยกันแนะ และช่วยกันทำการบ้าน สิ่งเหล่านี้มาได้อย่างไรล่ะ? บอกตรงๆว่ามาจากการสอนครั้งต้นๆที่ครูจะต้องช่วยกันผลักดันให้เด็กแต่ละคนรู้จักกัน เราจะต้องพยายามเปลี่ยนที่นั่งเด็กคนนั้น มาใกล้กับคนนี้ ท้ายสุดแล้วจะทำให้เด็กสนิทกันทั้งห้อง และต้องผลักดันให้ช่วยๆกันตอบ ถามว่ามีประโยชน์อะไรไหมกับการทำแบบนี้ บอกได้เลยว่าไม่มีประโยชน์ในแง่ความรู้มากนัก แต่สิ่งเหล่านี้หากเกินขึ้น มันจะช่วยสร้างความสุขให้ติวเตอร์เป็นแรงผลักดันในการสอนเป็นอย่างมาก ที่เห็นทุกๆคนช่วยกันตอบ และพยายามช่วยกันอธิบายเพื่อนที่เรียนไม่ค่อยทัน มันเป็นการสร้างสังคมกลุ่มเล็กๆที่คอยช่วยเหลือกัน ลองดูครับ หากทำได้ คุณจะรู้สึกอมยิ้มแบบผมก็เป็นได้
Repeat
สมัยหนึ่งในวัยที่ผมยังคงเป็นนักศึกษาที่เรียนในระดับ ป.โท ผมได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งในอดีตนั้น อาจารย์ท่านนี้เคยเป็นนักวิทยาศาสตร์ขององค์การ NASA มาก่อน อาจารย์ท่านนี้ได้กลับมารับใช้ชาติด้วยการสอนที่จุฬา เป็นโชคดีที่ผมได้เรียนในวิชา Thermal Stress Analysis กับอาจารย์เค้า วิชานี้ถ้าเป็นภาษาไทยมันจะเกี่ยวกับ ความเค้นในวัตถุที่เกิดจากความร้อน แค่ฟังชื่อนี้ไม่ร้อนหรอก แต่จะรู้สึกหนาวในความยากแน่ๆ (ผมคิดก่อนที่จะเริ่มเรียน) สิ่งที่ผมเจอคือสมการเชิงอนุพันธ์ ที่จะต้องใช้เวลาทำแต่ละข้อประมาณครึ่งค่อนวัน และเขียนออกมาเป็นสมการยาวๆกว่า 4 หน้ากระดาษ ก่อนกลับบ้าน สิ่งที่อาจารย์คนนั้นบอกกับนักศึกษาในห้องคือ "ผมไม่มีการบ้านใ้ห้หรอก การบ้านของผมก็คือ คุณกลับไปลอกสิ่งที่ผมสอนในวันนี้ลงในสมุดเปล่าๆ" อาจารย์เรียกวิธีนี้ว่าการ Repeat หรือแปลว่า "อีกรอบ" นั่นเอง ผมได้แต่ทำหน้างงๆ และก็กลับไปลอกอีกรอบอย่างที่อาจารย์บอก แต่ในระหว่างการลอกนั้น "ผมได้ทำความเข้าใจ และซึมซับมันไปอีกรอบจนเข้าใจ" สิ่งนี้ทำให้ผมบรรลุกับคำว่า Repeat
สำหรับปัจจุบันนี้ผมมักจะใช้เทคนิคนี้กับเด็กที่ค่อนข้างอ่อน นั่นคือ ผมจะให้ทุกคนวางดินสอ และไม่ให้ใครจด จากนั้นผมจะให้เด็กๆช่วยกันบอกวิธีการทำในการทำโจทย์ ผมจะค่อยๆสอน ค่อยๆบอกจนกว่าจะได้คำตอบ จากนั้นผมจะสรุป ทั้งเทคนิค ข้อระวัง และวิธีการแก้ปัญหากำกับลงไปอีกครั้ง เมื่อทุกคนเข้าใจ ผมจะลบทุกอย่างบนกระดานทิ้ง แล้วให้เด็กทำอีกรอบเค้าจะเข้าใจด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่เด็กๆเหล่านั้นจะทำได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพวกเขามากขึ้นด้วย และในบางครั้งผมจะให้เด็กไป Repeat เองที่บ้านอีกรอบด้วย (สำหรับน้องที่อ่อนมาก)
สำรวจตัวเอง

นี่เป็นหัวข้อสุดท้ายแล้ว ในที่สุดบทความของผมก็มาถึงปลายทางซักที เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุด ของบทความนี้ครับ เป็นหัวข้อที่ผมจะไม่เขียนรายละเอียดเลย ลองกลับไปสำรวจตัวเอง บ้างนะครับ ซึ่งผมอยากจะบอกว่า “เป็นอาจารย์ อย่าเป็นได้แค่เพียง คนสอนหนังสือ” ในชีวิตผม ถึงแม้ว่าจะสอนพิเศษ มานานมากแล้ว แต่ ทุกวัน ผมยังกลับไปนั่งสำรวจตัวเองอยู่เลย ว่า วันนี้เราสอนเป็นยังไงบ้าง เราพูดยากเกินไปหรือเปล่า เราบ้าพลังเกินไปไหม วันนี้เราไปตรงเวลาหรือเปล่า เราตอบคำถามเด็กชัดเจนไหม วันนี้เราหงุดหงิดกับคำถามเด็กไหม การสำรวจตัวเอง ทุกๆวัน มันทำให้ผม เดินเข้าไปใกล้ความเป็นอาจารย์มากขึ้น แล้วคุณล่ะ “เป็นอาจารย์ หรือ เป็นแค่คนสอนหนังสือ” ถามเอง ตอบเอง โชคดีนะครับ