แนวคิด ทฤษฎี


ความหมายของการนิเทศการศึกษา ได้มีผู้ให้ความหมายแตกต่างกันไป การที่จะนิยามให้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าการนิเทศการศึกษา คือ อย่างนั้นอย่างนี้ อาจจะเป็นข้อสรุปได้ยากขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางความคิดของการศึกษา จุดมุ่งหมายและแนวทางการศึกษาแต่ละสมัยสาหรับความหมายของการนิเทศการศึกษาพอประมาณได้ดังนี้ แดลเนียล แทนเนอร์ แอนด์ ลอร์ แทนเนอร์ (Daniel Tanner and Laured Tanner. 1987: 52) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา คือ การปรับปรุงคุณภาพการสอนและการเรียน รวมทั้งการปรับปรุงหลักสูตร สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541 : 3) ได้ให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ว่า การนิเทศการศึกษาคือ งานพัฒนาที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งคุณภาพที่การเรียนการสอนและผลที่เกิดกับนักเรียน กู๊ด (นิสสัย สุวรรณเพชร 2540 : 12, อ้างจาก Good. 1973: 400) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง ความพยายามของผู้ทำหน้าที่นิเทศจะช่วยในการให้คาแนะนำแก่ครูและผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้สามารถปรับปรุงการสอนของตนให้ดีขึ้น การนิเทศการศึกษาจะช่วยให้เกิดความงอกงามด้านวิชาชีพ ช่วยพัฒนาความสามารถของครู ช่วยในการคัดเลือกและปรับปรุงวัตถุประสงค์ของการศึกษา ช่วยในการคัดเลือกอุปกรณ์การสอนช่วยเหลือและปรับปรุงวิธีสอนและช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน
สรุปได้ว่าการนิเทศการศึกษา หมายถึง การชี้แนะ แนะนา การปรึกษาหารือ การวางแผนร่วมกันและให้ความร่วมมือในการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดผลดีและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา

1 ความคิดเห็น:

  1. ทฤษฎีทางนวัตกรรม ในแต่ละช่วง
    1.1 ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of Innovation Theory) /ลัดดาวรรณ ล้านเพชร
    1.2. ทฤษฎีของ Henderson and Clark เกี่ยวกับ นวัตกรรมเชิงสถาปัตยกรรมของผลิตภัณฑ์ (Architectural Innovation) /มณฑกานต์ ตลึงจิตร
    1.3. ทฤษฎีการแก้ปัญหาในการประดิษฐ์ (TRIZ :Theory of Inventive Problem Solving ) /จิรโชติ ทองอ่อน
    1.4. ทฤษฎีนวัตกรรมแนววิศวกรรม (the engineering theory of innovation) หรือ วิทยาศาสตร์ (technology push) /อิสรา โต๊ะยีโกบ
    1.5. ทฤษฎีนวัตกรรมแนวการตลาด (the market theory of innovation) หรือ ความต้องการของตลาด (Market Pull) /กมลชนก ภูมิชาติ
    1.6. ทฤษฎีนวัตกรรมห่วงโซ่ความสัมพันธ์ (the chain link theories of innovation) ผู้มีบทบาทในตลาด...(ว่าง)
    1.7. ทฤษฎีนวัตกรรมแนวเครือข่ายเทคโนโลยี (the technology network theory of innovation) /มงคล สาระคำ
    1.8 ทฤษฎีนวัตกรรมแนวเครือข่ายทางสังคม (the social network theory of innovation) /ฝนทิพย์ ไกรนรา
    1.9. กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theories) /เบญจวรรณ ใสหวาน
    1.1 ลักษณะของทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม 1.3 การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
    1.2 แนวคิดสาคัญของกลุ่มพฤติกรรมนิยม 1.4 กรณีศึกษาหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    1.10 กลุ่มทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitive Learning Theories) เปียเจ / รังสิยา นรินทร์
    2.1 ลักษณะของทฤษฎีกลุ่มปัญญานิยม 2.3 การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
    2.2 ทฤษฎีต่างๆ ของกลุ่มปัญญานิยม 2.3 กรณีศึกษาหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    1.11 กลุ่มทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructivisim) /พรวีนัส อัมพวัน
    3.1 ลักษณะของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม 3.4 เงื่อนไข
    3.2 เป้าหมาย 3.5 การประเมินผล
    3.3 สิ่งแวดล้อม 3.6 การประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีหรือการเรียนการสอน
    3.7 กรณีศึกษาหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    1.12 กลุ่มทฤษฎีการเชื่อมต่อ (Connectivism) /สุดารัตน์ ภู่ดอก
    4.1 ลักษณะของทฤษฎีเชื่อมต่อ 4.2 หลักการของทฤษฎีเชื่อมต่อ
    4.3 การประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีหรือการเรียนการสอน 4.4 กรณีศึกษาหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    1.13. ADDIE (Analysis > Design > Development > Implementation > Evaluation)



    ลักษณะของนวัตกรรมในแต่ละทฤษฎี
    1.ทฤษฎีการพัฒนา (Theory of Development)...
    1.1 ทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization Theory)
    1.2 ทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory)
    1.3 ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Needs Theory)
    2. ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม
    2.1) ทฤษฏี Schumpeter's theory of innovation
    2.2) ทฤษฎีคลื่นยาว (Long Wave Cycle)
    2.3) ทฤษฏี "กบกระโดด" (Leapfrog Theory)
    2.4) ทฤษฎี แบบผ่าเหล่าผ่ากอ หรือ theory of disruptive innovation ของ Prof. Clayton Christensen
    2.5) ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of Innovation Theory)
    2.6) ทฤษฎี The Chasm ของ G.A. Moore หรือทฤษฎี “หุบเหวแห่งการดับของนวัตกรรม”
    2.7) ทฤษฎีพัฒนาการรูปตัว S ของนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยี (Technology S-Curve)
    2.8) ทฤษฎีการหยุดชะงักของดุลยภาพ หรือ (Punctuated Equilibrium)
    2.9) ทฤษฎี รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน (Dominant design)
    2.10) ทฤษฎี ความสามารถที่ดูดซับได้ (Absorptive capacity theory)

    ตอบลบ