วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาการนิเทศด้วยรูปแบบ 3M เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ธวัชชัย วิหคเหิร (2542 : 89 - 90) ได้ทำการวิจัยเรื่องความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการการนิเทศทางวิชาการของครูในโรงเรียนโครงการปฏิรูปการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา ความต้องการการนิเทศทางวิชาการของครูผู้สอนในโครงการปฏิรูปการศึกษา ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ในระดับปานกลางและได้รับการตอบสนองความต้องการนิเทศทางวิชาการของครูผู้สอนในโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางซึ่งปรากฏผลดังนี้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่าครูผู้สอน มีความต้องการการนิเทศทางวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นทักษะกระบวนการ และการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ด้านสื่อการสอน ต้องการการนิเทศอันดับหนึ่ง คือ การขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในห้องวิทยาศาสตร์ การเลือกนวัตกรรมทางการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผล พบว่า ต้องการนิเทศเรื่อง การจัดกระทาข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา และการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นพวรรณ ญาณะนันท์ (2540 : 94 - 98) ได้ทาการวิจัยเรื่องการศึกษาการดาเนินการนิเทศงานวิชาการในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า ควรดาเนินงานนิเทศงานทั้งในระดับโรงเรียน มีปัญหาการดาเนินการนิเทศงานวิชาการระดับโรงเรียนได้แก่ เอกสารแจ้งนโยบายมีไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดาเนินการนิเทศและขาดบุคลากรที่มีความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงาน ส่วนการดาเนินการนิเทศงานวิชาการระดับหมวดวิชาครูทุกคนในหมวดวิชาร่วมกันสารวจความต้องการจาเป็นเพื่อวางแผนการินเทศและเตรียมการแต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบโครงการ รายงานผลการปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้บริหารโรงเรียนให้ได้ทราบปัญหาการดาเนินการนิเทศงานวิชาการระดับหมวดวิชา
กลิ๊กแมน และคณะ (Glickman and others 1990 : 185-192, อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี2553 : 120-122) กล่าวถึง การนิเทศแบบพัฒนาการ (Developmental Supervision)ว่าเป็นการนิเทศที่คำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ ศักยภาพของมนุษย์ ตลอดจนความแตกต่างกันในด้าน ต่าง ๆ ของมนุษย์โดยเฉพาะมนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่ (Adult) มีความสามารถการคิดเชิงนามธรรม (Abstract Thinking) ความรู้สึกที่ผูกพันต่อภาระหน้าที่(Commitment) ความเชี่ยวชาญ (Expertise) แรงจูงใจและเป้าหมายที่แตกต่างกัน ตามช่วงอายุ ดังนั้น ในการนิเทศการสอน ผู้นิเทศหรือ ผู้ทำหน้าที่นิเทศจะต้องเลือกใช้วิธีการนิเทศที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ครูที่เป็นผู้ใหญ่ได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพและสามารถมีการพัฒนาถึงจุดสูงสุดโดยมุ่งเน้นครูเป็นสำคัญ (Teacher Center) โดยการช่วยเหลือ แนะนำให้ครูสามารถการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงระดับความเชี่ยวชาญหรือความสามารถทางการคิด และแรงจูงใจในการพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อช่วยครูให้สามารถปรับปรุงและพัฒนางาน ในวิชาชีพของตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียนซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศการสอนของ วัชรา เล่าเรียนดี(2550 : 3) ที่กล่าวว่า การนิเทศการสอน เป็นกระบวนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ เพื่อที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษา และการจัดการเรียน การสอนของครู เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิผลในการเรียนของนักเรียน และ ในการพัฒนาครูให้สามารถจัดกิจกรรมและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรจะต้องอาศัยการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กระบวนการสำคัญที่ควบคู่ไปกับการบริหารคือการนิเทศ การสอน โดยต้องเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิภาพ
                ไจลอล์.(Jailall. 1998 : 675-A) ศึกษาความแตกต่างของการนิเทศที่มีรูปแบบแตกต่างกันเพื่อที่จะให้คำแนะนำไปใช้ในการพัฒนารูปแบบของการนิเทศที่มีประสิทธิภาพในสหรับอเมริกาในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสำรวจ การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ความแตกต่างของการนิเทศการสอน ผลการศึกษาพบว่า 78% ของกิจกรรมการนิเทศรูปแบบต่างๆ เริ่มต้นใช้ในโรงเรียนมาตั้งแต่ 1-6 ปีมาแล้ว 96% ของหัวหน้าสถานศึกษาและครูนิเทศเชื่อว่าการนิเทศที่หลากหลายจะช่วยให้ครูพัฒนาตนเองและพัฒนาการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลางถึงดีมาก 79% ของผู้บิหารและครูนิเทศ เชื่อว่า การร่วมมือกันพัฒนาการนิเทศการสอนที่มีความหลากหลายก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูง ครูที่วมกันพัฒนาเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของการนิเทศ และการนิเทศที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันมีการนำไปใช้เพิ่มมากขึ้น
          รุ่งทิวา เสาร์สิงห์ (2554 : 56) ได้ทำการสังเคราะห์เอกสาร ใน แนวคิดการพัฒนารูปแบบพี่เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ และช่วยพัฒนาซึ่งกันและกัน โดยใช้การติดต่อสื่อสารสนบั สนนุ การเรียนร ู้ เป็นนิยามหนึ่งของพี่เลี้ยงจุดประสงค์หลักของกระบวนการพี่เลี้ยงคือ จัดกิจกรรมสนับสนุนพัฒนาศักยภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตสังคมทั้งผู้รับบทบาทผู้เรียน หรือผู้รับการอุปถัมภ์และผู้รับบทบาทพี่เลี้ยง สำหรับพี่เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการกับระบบพี่เลี้ยง โดยดำเนินกิจกรรมผ่านเครื่องมือออนไลน์ โดยไร้ข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา และยังเพิ่มกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพกระบวนการพี่เลี้ยงได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีงานวิจัยด้านพี่เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์บ้างแล้ว แต่วิวัฒนาการเทคโนโลยีเครือข่ายได้พัฒนาไปตลอดเวลา จึงยังมีประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้ดำเนินงาน และควรพัฒนาให้มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น
สามารถ ทิมนาค (2552 : 112-113) ได้ศึกษา รูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย ที่เรียกว่า “AIPDE Model” ประกอบด้วยกระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การประเมินสภาพและสมรรถนะในการทำงาน (Assessing : A)ขั้นที่ 2 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Information : I) ขั้นที่ 3 การวางแผนการนิเทศ (Planning : P)ขั้นที่ 4 การปฏิบัติ การนิเทศ (Doing : D) ประกอบด้วยกระบวนการนิเทศการสอน 3 ขั้นคือ 1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน 2) การสังเกตการสอน 3) การประชุมให้ข้อมูลย้อนกลับหลังการสังเกตการสอน และขั้นที่ 5 การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating : E) ผลจากการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ 6 คน พบว่า รูปแบบการนิเทศการสอนมีคุณภาพ และผลจากการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศการสอนโดยการนำไปใช้ ในโรงเรียน พบว่า ครูผู้ทำหน้าที่นิเทศมีสมรรถภาพการนิเทศการสอนหลังการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน ครูผู้รับการนิเทศมีสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านหลังการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน นักเรียนมีทักษะการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ชารี มณีศรี (2538 : 29) ให้ความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ว่าการนิเทศการศึกษา มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ครูเจริญก้าวหน้าทางวิชาชีพ ปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นมุ่งพัฒนาคนและพัฒนางานสานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2539 : 6) ได้สรุปถึงจุดมุ่งหมาย การนิเทศการศึกษา ไว้ดังนี้ คือ การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการทางานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะทางสังคม
วิจิตร วรุตบางกูร และคนอื่นๆ (2540 : 10) กล่าวว่า ความจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศการศึกษาในระบบการศึกษาเนื่องจากเหตุผล ดังนี้
1. สภาพสังคมเปลี่ยนไปทุกขณะ การศึกษาจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย การนิเทศการศึกษาจะช่วยทาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์การที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
2. ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้นโดยไม่หยุดยั้ง แม้แนวคิดในเรื่องการเรียนการสอนเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา การนิเทศการศึกษาจะช่วยทาให้ครูมีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้การเรียนการสอนพัฒนาขึ้นจาเป็นต้องได้รับการชี้แนะหรือนิเทศการศึกษาจากผู้ชานาญการโดยเฉพาะ จึงจะทาให้แก้ไขปัญหาได้สาเร็จลุล่วง
4. การศึกษาของประเทศไม่อาจรักษามาตรฐานไว้ได้จะต้องมีการควบคุมดูแลด้วย
ความมุ่งหมายของการนิเทศนั้น เป้าหมายหลักอยู่ที่การพัฒนาครูทั้งด้านวิชาชีพ คือ ฝึกให้มีประสบการณ์ตรง เช่น การประชุมอบรมสัมมนา การทดลองหลักสูตรวิธีสอน และประสบการณ์โดยอ้อม เช่น การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ครูมีโอกาสพบปะทางวิชาการ เป็นต้น นอกจากนั้นยังช่วยสร้างครูให้มีลักษณะความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกับผู้อื่นอันจะยังผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนดียิ่งขึ้น กล่าวโดยย่อก็คือ มุ่งพัฒนาคนและพัฒนางาน
ธรรมสันต์ สุวรรณ์โรจน์  (2555 : 8) ได้ทำงานวิจัยการประเมินการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยใช้รูปแบบซิฟฟ์ โดยใช้วิจัยเชิงบรรยายเก็บรวบรมข้อมูลจากอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร 6 คน และจากนักศึกษาผู้เรียน 160 คน พบว่า ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรโดยใช้รูปแบบซิฟฟ์อยู่ในระดับมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น