งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

วัชรา เล่าเรียนดี ( 2550 : 8) กล่าวว่า การตอบสนองความต้องการของครูผู้สอนอย่างมีปฏิสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ คือ การนิเทศการสอน ซึ่งอาจเป็นวิธีการนิเทศรายบุคคลหรือวิธีการนิเทศรายกลุ่มที่สอดคล้องกับปัญหาและ ความต้องการของครูโดยใช้เทคนิควิธีการนิเทศที่หลากหลาย เน้นความร่วมมือกันระหว่างบุคลากรในโรงเรียน ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนกระบวนการพี่เลี้ยง (Mentoring) เป็นรูปแบบกิจกรรมอย่างหนึ่งที่นำมาใช้พัฒนาศักยภาพบุคคล ซึ่งพัฒนาทั้งผู้ได้รับการอุปถัมภ์ (Mentee) และผู้ที่เป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน โดยใช้การติดต่อสื่อสารแบบสองทางหรือใช้ในความหมาย เป็นกระบวนการสนับสนุน พัฒนาบุคคลด้วยการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคคล ด้วยการใช้วิธีการสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนสาระความรู้ ความคิด ผ่านทางกิจกรรมที่มีการปฏิสัมพันธ์กัน หรือ เป็นกระบวนการเพื่อจัดเตรียม และกำหนดบทบาทให้ผู้มีความสามารถเป็นที่ยอมรับ มีหน้าที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำ แก่ผู้มีประสบการณ์น้อยกว่า เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ จากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่ง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบพี่เลี้ยงจึงมี 2 กลุ่มหลัก คือ บุคคล ที่มีบทบาทเป็นพี่เลี้ยง เรียกว่า Mentor และบุคคลที่มีบทบาทเป็นผู้เรียนหรือผู้รับการอุปถัมภ์ เรียกว่า Mentee สำหรับแนวคิดการให้ความช่วยเหลือกันด้วยกระบวนการพี่เลี้ยงนี้ เป็นรูปธรรมนับแต่ .. 1904 สมาคมบิกบราเดอร์-บิกซิสเตอร์ (Big brothers/Big sisters) ได้จัดตั้งขึ้น โดยรับอาสาสมัครที่มีความเต็มใจ ยินดีเสียสละ เข้าร่วมงานเป็นพี่เลี้ยง เพื่อช่วยเหลือเยาวชนด้อยโอกาส ซึ่งได้รับผลสำเร็จของงานเป็นอย่างมาก กระบวนการพี่เลี้ยงได้รับการยอมรับจากหลายองค์กร ในด้านประสิทธิภาพการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์จากบุคคลไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง ดังที่ปรากฏในเอกสารแนวทางดำเนินงานของสำนักงาน ก... และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ พ..2550 มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรทู ี่เหมาะสมกับความรูประเภท ความรู้เฉพาะบุคคล (Tacit knowledge) จำนวน 6 รูปแบบ และหนึ่งในนั้น คือ กิจกรรมกระบวนการระบบพี่เลี้ยง(Mentoring system)  สอดคล้องกับ ทฤษฎี 5 E ที่กล่าวถึงหลักพัฒนาคนเก่ง ให้มีประสิทธิภาพ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ นั่นคือ 1) Example มีตัวอย่างหรือแม่แบบที่เก่ง 2)Experience เรียนรู้งานจากผู้มีประสบการณ์ 3) Education พัฒนาความรู้ด้วยการศึกษา การฝึกอบรม 4) Environmentสร้างบรรยากาศที่ดี เปิดโอกาสให้คนแสดงความสามารถ และ 5) Evaluation การประเมิน เช่น ให้รางวัล ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นบทบาทและความสำคัญ ในการใช้กระบวนการพี่เลี้ยงเพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรอนึ่ง กระบวนการพี่เลี้ยงดำเนินงานด้วยการติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และการดำรงสัมพันธภาพระหว่างพี่เลี้ยงและผู้รับการอุปถัมภ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น